1930 - 1939: การเอาชนะความท้าทาย
ทศวรรษที่ 1930 เป็นช่วงเวลาที่ยากลำบาก เริ่มด้วยภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ และจบลงด้วยสงครามโลกครั้งใหม่

ภาวะเช่นนี้ทำให้บริษัทที่เพิ่งรวมกันใหม่จำเป็นต้องใช้เหตุผลตัดสินเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น ดังนั้น ในประเทศอังกฤษ ยูนิลีเวอร์ลดบริษัทที่ผลิตสบู่ 50 แห่ง ให้มุ่งเน้นแบรนด์ไม่กี่อย่างขณะเดียวกันรัฐบาลในทวีปยุโรปปกป้องการผลิตเนยสดในประเทศด้วยภาษีอากร ภาษีสรรพสามิตและจำกัดการผลิต ผลลัพธ์คือโรงงานไขมันที่กินได้และมาร์การีนของยูนิลีเวอร์ถูกลดจากสิบแห่งเหลือห้าแห่ง
แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจถดถอยยังคงขยายออกไปเรื่อย ๆ แต่บางส่วนโดยการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ในตลาดที่ตั้งขึ้น และบางส่วนโดยการเข้าซื้อบริษัทซึ่งถือเป็นประเภทผลิตภัณฑ์เกิดใหม่ เช่น อาหารแช่แข็งและอาหารสำเร็จรูป
เหตุการณ์สำคัญ
1930
เมื่อวันที่ 1 มกราคม ยูนิลีเวอร์ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ
พรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิลเข้าสู่ตลาดอังกฤษด้วยการเข้าซื้อกิจการบริษัทโธมัส เฮดลีย์แห่งนิวคาสเซิล และกลายเป็นคู่แข่งรายใหญ่ที่สุดรายหนึ่งของยูนิลีเวอร์
กลางทศวรรษที่ 1930
การผลิตสบู่เปลี่ยนจากสบู่แข็งไปเป็นแผ่นบางและเป็นผงซึ่งออกแบบเพื่อให้การทำความสะอาดในครัวเรือนเป็นงานเบาขึ้น และนำไปสู่การขยายตัวในตลาดสบู่
1935
วิตามินเอและบีถูกเพิ่มเข้าใส่มาร์การีนในระดับเทียบเท่ากับที่มีอยู่ในเนยสด
1938
หลังจากการรณรงค์เพื่อปรับปรุงการรับรู้ของสาธารณะในเรื่องมาร์การีนและการเติบโตของแบรนด์ต่าง ๆ ที่อุดมด้วยวิตามิน ซึ่งรวมทั้งแบรนด์สโตรกในประเทศอังกฤษ และบลู แบนด์ในประเทศเนเธอร์แลนด์ ยอดขายมาร์การีนเพิ่มขึ้นในระดับที่ใกล้เคียงยอดขายสูงสุดเมื่อปี ค.ศ. 1929
ปลายทศวรรษที่ 1930
ด้วยการอุบัติขึ้นของสงครามโลกครั้งที่สอง การควบคุมการแลกเปลี่ยนเงินตราและการถูกระงับทางการเงินทำให้การค้าระหว่างประเทศซับซ้อนยิ่งขึ้น ในประเทศเยอรมนี ยูนิลีเวอร์ไม่สามารถเคลื่อนย้ายกำไรออกจากประเทศและต้องลงทุนในบริษัทต่าง ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับน้ำมันและไขมันซึ่งรวมทั้งสาธารณูปโภคแทน