คนอร์ตอกย้ำพันธกิจส่งเสริมโภชนาการเชิงบวก จัดประชุมเสวนาในหัวข้อ ‘โภชนาการเชิงบวก เสริมสุขภาพ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Positive Nutrition for Better Health and Sustainability)’ ชวนกินดีได้ดี ให้คนไทยมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน ในงานประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติครั้งที่ 16
ยูนิลีเวอร์ได้เข้าร่วมงานการประชุมวิชาการโภชนาการแห่งชาติ ครั้งที่ 16 (The 16th Thailand Congress of Nutrition) และจัดการประชุมเสวนาในหัวข้อ ‘โภชนาการเชิงบวก เสริมสุขภาพ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Positive Nutrition for Better Health and Sustainability) โดยเล็งเห็นถึงความสำคัญของการกินดี ได้ดี ของผู้บริโภค จึงได้เชิญชวนให้นักโภชนาการ ผู้เป็นกำลังสำคัญในการให้คำแนะนำและให้ความรู้พื้นฐานด้านโภชนาการแก่ผู้บริโภค ได้นำความรู้ไปเผยแพร่สร้างการรับรู้และส่งเสริมให้คนไทยได้มีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืนในวงกว้าง โดยการเสวนายังได้รับเกียรติจากผู้ทรงคุณวุฒิ 2 ท่าน จากคณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) มาร่วมเสวนาในครั้งนี้ด้วย
คุณอภิพร อดุลย์พิจิตร ผู้อำนวยการด้านงานวิจัยและพัฒนาอาหาร ประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า “ยูนิลีเวอร์มีความภูมิใจที่ได้จัดประชุมเสวนาในหัวข้อ ‘โภชนาการเชิงบวก เสริมสุขภาพ เพื่ออนาคตที่ยั่งยืน (Positive Nutrition for Better Health and Sustainability)’ โดยเน้นเรื่องการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมผู้บริโภค ปัญหาโภชนาการและแนวทางการแก้ปัญหา เพื่อให้นักโภชนาการได้นำไปต่อยอด ส่งเสริมให้คนไทยปรับพฤติกรรมการกินและมีสุขภาพที่ดีอย่างยั่งยืน และความจำเป็นในการปรับตัวของผู้ประกอบการเพื่อส่งเสริมให้คนไทยมีโภชนาการที่ดีอย่างยั่งยืนในวงกว้าง อีกทั้งได้กล่าวถึงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ด้านอาหารของยูนิลีเวอร์โดยต้องผ่านเกณฑ์โภชนาการของยูนิลีเวอร์ที่มีชื่อว่า Unilever’s science-based nutrition criteria (USNC) ซึ่งสอดคล้องกับคำแนะนำในการบริโภคอาหารขององค์การอนามัยโลก (World Health organization Dietary guidance) แล้วยังมุ่งมั่นในการพัฒนาผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง ทั้งลดปริมาณน้ำตาล โซเดียม ไขมันอิ่มตัว และพลังงานลง เพื่อให้มีโภชนาการที่เหมาะสม และตอบโจทย์เทรนด์ผู้บริโภคแห่งอนาคต โดยยูนิลีเวอร์มุ่งมั่นให้ 85% ของผลิตภัณฑ์ด้านอาหารของยูนิลีเวอร์ต้องผ่านเกณฑ์โภชนาการ USNC ภายในปี พ.ศ. 2571”
รศ.ดร.สุวิมล ทรัพย์วโรบล รองคณบดีฝ่ายวิชาการและการศึกษาประธานหลักสูตรโภชนาการและการกำหนดอาหาร คณะสหเวชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า “ทุพโภชนาการซ้ำซ้อน (Double burden of malnutrition) คือการได้รับพลังงานมากเกินความต้องการและในเวลาเดียวกันก็ขาดสารอาหารที่จำเป็น เช่น คนอ้วนอาจยังมีภาวะขาดสารอาหารรองที่สำคัญ เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินดีร่วมด้วย ทั้งนี้ World Obesity Atlas พยากรณ์ว่าหากประเทศไทยไม่สามารถชะลออุบัติการณ์ของภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนได้ ประเทศไทยจะมีคนอ้วนร้อยละ 28 ในปี พ.ศ.2578 และจะต้องใช้งบประมาณถึงร้อยละ 3.5 ของ GDP เพื่อใช้กับการรักษาพยาบาลโรคอ้วนและโรคที่เกี่ยวข้อง ซึ่งวิธีในการชะลอภาวะน้ำหนักเกินหรืออ้วนแบบง่ายๆ คือการเลือกชนิดของอาหารที่เหมาะสมและกินในปริมาณที่พอเหมาะ หรือ กินดี ได้ดี นั่นเอง”
คุณสุธีรา อาจเจริญ ที่ปรึกษาอาวุโสสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) และผู้จัดการฝ่ายพัฒนาธุรกิจเมืองนวัตกรรมอาหาร กล่าวว่า “ในปัจจุบันผู้บริโภคให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพร่างกายของตนเอง โดยมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้นในการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ มีคุณค่าทางโภชนาการ รวมถึงการเลือกรับประทานอาหารฟังก์ชั่น ที่มีส่วนผสมของสารสำคัญที่ช่วยการทำงานของระบบต่างๆของร่างกายให้ดีขึ้น ซึ่งนอกจากเรื่องคุณค่าทางโภชนาการแล้ว ผู้บริโภคยังคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ ที่มีผลต่อการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ความสะดวกในการบริโภค ความคุ้มค่าทางด้านราคา ซึ่งเทคโนโลยีในปัจจุบันมีการพัฒนาขึ้นมาก ทำให้สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารที่มีการเก็บรักษาได้นานขึ้น แต่ยังคงความสดใหม่ และคงคุณค่าทางโภชนาการ ซึ่งผู้ประกอบการสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์อาหารให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคในปัจจุบันมากขึ้น”
ทิม ฟัน เอส หัวหน้าฝ่ายการตลาดนิวทรีชันกลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ พม่า กัมพูชา และลาว ยังกล่าวเสริมถึงกิจกรรมคนอร์ไทยแลนด์ เพื่อสนับสนุนให้คนไทยกินดีได้ดีว่า “คนอร์มุ่งมั่นที่จะช่วยให้คนไทยมีสุขภาพ และความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น โดยเริ่มจากเคล็ดลับการกินดี ได้ดี แบบง่ายๆ คนอร์พร้อมแจกสูตรไม่ลับเมนูอาหารเพื่อสุขภาพที่หลากหลายผ่าน Line "Knorr ไอเดียอร่อย" เพื่อสนับสนุนการกินดี ได้ดี และให้ผู้บริโภคมีทางเลือกที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นในการดูเเลสุขภาพอย่างยั่งยืน สามารถติดตามได้ที่ https://lin.ee/l2ewGiY