ข้ามไปที่ เนื้อหา

ยูนิลีเวอร์ ลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืนด้วยหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ชูความสำเร็จของ “โครงการแยกดี มีแต่ได้” การจัดการขยะแบบมีส่วนร่วมของชุมชน รับวันสิ่งแวดล้อมโลก

ที่ตีพิมพ์:

เวลาอ่านเฉลี่ย: 2 รายงานการประชุม

กรุงเทพฯ – 5 มิถุนายน 2565 – ยูนิลีเวอร์ เผยถึงความคืบหน้าของโครงการ “คุ้มค่า x ยูนิลีเวอร์ แยกดีมีแต่ได้” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อลดปัญหาขยะพลาสติกอย่างยั่งยืน โดยนำร่องที่เทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง จ.นนทบุรี สามารถบรรลุเป้าหมายในการคัดแยกพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือนเป็นจำนวนมากกว่า 6,000 กิโลกรัมภายใน 1 ปี ผ่านกิจกรรมสร้างแรงจูงใจเพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะอย่างถูกวิธี พร้อมให้ความรู้เรื่องการคัดแยกพลาสติกใช้แล้ว สร้างความตระหนักรู้เรื่องสิ่งแวดล้อม และให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการนำพลาสติกใช้แล้วกลับเข้าสู่ระบบเพื่อนำไปหมุนเวียน สร้างคุณค่าใหม่ ช่วยให้การรีไซเคิลมีประสิทธิภาพมากขึ้นตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน

ภาพความร่วมมือของยูนิลีเวอร์ เอสซีจีซี และเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง

เนื่องในวันสิ่งแวดล้อมโลก ยูนิลีเวอร์ ร่วมกับเอสซีจีซี ดำเนินโครงการ “คุ้มค่า x ยูนิลีเวอร์ แยกดีมีแต่ได้” ซึ่งเป็นโครงการต่อเนื่องเพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการลดปัญหาขยะพลาสติก และสร้างการเปลี่ยนแปลงอย่างยั่งยืนต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในระดับมหภาค ให้เกิดความตระหนักเรื่องการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง ช่วยลดปัญหาขยะในประเทศไทย และสร้างระบบการจัดการให้พลาสติกใช้แล้วได้กลับมาหมุนเวียนและรีไซเคิลอย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ซึ่งการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทางถือเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จ ทั้งนี้ ยูนิลีเวอร์ ได้ร่วมมือกับเอสซีจี เคมิคอลส์ นำร่องที่ธนาคารขยะเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง จ.นนทบุรี โดยเชิญชวนสมาชิกของธนาคารขยะฯ จำนวนกว่า 17,000 คน ให้คัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้วในครัวเรือน ซึ่งจะนำไปบริหารจัดการเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสิ่งแวดล้อม รวมทั้งหมุนเวียนกลับเข้าสู่ระบบเพื่อสร้างคุณค่าใหม่อย่างยั่งยืน โดยสมาชิกสามารถแลกรับผลิตภัณฑ์ยูนิลีเวอร์ฟรี

สำหรับพลาสติกใช้แล้วที่รวบรวม ได้แก่ 1) พลาสติกประเภท HDPE ซึ่งมีลักษณะใสขุ่นและขาวทึบ เช่น แกลลอนนมพาสเจอร์ไรซ์ แกลลอนน้ำยาปรับผ้านุ่ม แกลลอนน้ำยาล้างจาน ขวดแชมพู ขวดครีมนวดผม ซึ่งจะนำไปผ่านกระบวนการทำความสะอาดและปรับปรุงคุณสมบัติด้วยสูตรเฉพาะของเอสซีจีซี เป็นเม็ดพลาสติกรีไซเคิลคุณภาพสูง (High Quality Post-Consumer Recycled Resin - PCR) สำหรับนำมาขึ้นรูปเป็นขวดบรรจุภัณฑ์ใหม่ และ 2) ซองบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (Multilayer) เช่น ถุงน้ำยาปรับผ้านุ่ม ถุงน้ำยารีฟิลต่าง ๆ ซึ่งรีไซเคิลได้ยาก ถือเป็นขยะกำพร้า ที่ไม่มีมูลค่าในการซื้อขาย และยังไม่มีการกำจัดอย่างเป็นระบบ ซึ่งจะถูกส่งไปทำเชื้อเพลิงสำหรับโรงงานอุตสาหกรรม (Waste-to-energy) โดยความร่วมมือของบริษัท เอสซีไอ อีโค่ เซอร์วิสเซส จำกัด ผู้ให้บริการและโซลูชันการจัดการวัสดุเหลือทิ้ง

ภาพคนนำขยะมาแลกผลิตภัณฑ์ของยูนิลีเวอร์ในโครงการแยกดีมีแต่ได้

จากการดำเนินโครงการฯ ในระยะเวลา 1 ปี คือ ตั้งแต่วันที่ 5 มิถุนายน 2564 จนถึงปัจจุบัน สามารถบรรลุเป้าหมายในการรวบรวมพลาสติกใช้แล้วจากครัวเรือน มากกว่า 6,000 กิโลกรัม ได้แก่ พลาสติกประเภท HDPE จำนวน 100,931 ชิ้น และบรรจุภัณฑ์พลาสติกหลายชั้น (Multilayer) จำนวน 77,969 ชิ้น ช่วยลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ทั้งสิ้น 5,756 kgCO2e เทียบเท่ากับการดูดซับก๊าซเรือนกระจกของต้นไม้ 480 ต้น นอกจากนี้ ยังสร้างการมีส่วนร่วมกับคนในชุมชน 17,767 คน พร้อมสร้างรายได้เพิ่มให้แก่คนในชุมชนเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทองเป็นจำนวน 49,970 บาท

นางณัฏฐิณี เนตรอำไพ ผู้จัดการอาวุโสส่วนองค์กร กลุ่มบริษัทยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย กล่าวว่า “ดิฉันเชื่อว่าพลาสติกมีที่ของมัน และที่นั้นไม่ใช่ตามซอย ถนนหนทาง คลอง หรือแม่น้ำลำธาร ด้วยเหตุนี้ ยูนิลีเวอร์จึงได้ประกาศความมุ่งมั่นที่จะเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ของเราทั้งหมด 100% ให้สามารถรีไซเคิลได้ ใช้ซ้ำได้ หรือ ย่อยสลายได้ ลดการใช้เม็ดพลาสติกใหม่ลงครึ่งหนึ่ง หรือ 1 แสนตันทั่วโลก และเรียกเก็บบรรจุภัณฑ์พลาสติกให้ได้มากกว่าที่เราขาย ทั้งหมดนี้ ภายในปี พ.ศ. 2568 เพื่อให้ขยะพลาสติกใช้แล้วหมุนเวียนอยู่ในระบบเศรษฐกิจและไม่หลุดรอดสู่สิ่งแวดล้อม ความสำเร็จของโครงการแยกดีมีแต่ได้ มาจากความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน อันได้แก่ ผู้ผลิตสินค้า ผู้รีไซเคิลและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติก เทศบาล และชุมชน โดยไม่สามารถที่จะขาดผู้เล่นใดผู้เล่นหนึ่งได้เลย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น การปกป้องโลกใบนี้ของเราจะต้องมาจากความพยายามของพวกเราทุกคน ที่จะเปลี่ยนแปลงขยะพลาสติกให้กลายเป็นทรัพยากรหมุนเวียนไม่รู้จบ”

ความสำเร็จของโครงการแยกดีมีแต่ได้ มาจากความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างกลุ่มพันธมิตรที่สำคัญของระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน อันได้แก่ ผู้ผลิตสินค้า ผู้รีไซเคิลและแปรรูปบรรจุภัณฑ์พลาสติก เทศบาล และชุมชน โดยไม่สามารถที่จะขาดผู้เล่นใดผู้เล่นหนึ่งได้เลย อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น การปกป้องโลกใบนี้ของเราจะต้องมาจากความพยายามของพวกเราทุกคน ที่จะเปลี่ยนแปลงขยะพลาสติกให้กลายเป็นทรัพยากรหมุนเวียนไม่รู้จบ”

นายกฤษดา เรืองโชติวิทย์ Head of ESG office บริษัทเอสซีจี เคมิคอลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ เอสซีจีซี กล่าวว่า “เอสซีจีซี ให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) ซึ่งนำไปสู่การบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน และตอบโจทย์ ESG (Environmental, Social and Governance) ซึ่งนอกจากการนำหลักเศรษฐกิจหมุนเวียนไปพัฒนานวัตกรรมพลาสติกเพื่อสิ่งแวดล้อมแล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่เป็นหัวใจสำคัญ คือ การจัดการขยะพลาสติกใช้แล้วอย่างครบวงจร โดยคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง เริ่มจากการปลูกจิตสำนึก ให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับการคัดแยกขยะ และที่สำคัญ คือ การสร้างแรงจูงใจให้เกิดการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม และแสดงตัวอย่างให้เห็นอย่างเป็นรูปธรรม สำหรับ ‘โครงการแยกดี มีแต่ได้’ ที่ธนาคารขยะชุมชนเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง นั้น ตลอดระยะเวลา 1 ปี ที่ผ่านมา ได้เห็นผลเชิงประจักษ์แล้วว่า หากคนในชุมชนหันมาคัดแยกขยะอย่างถูกต้อง มีระบบการจัดการอย่างครบวงจร ขยะก็จะไม่ใช่ขยะอีกต่อไป แต่จะเป็นตัวช่วยที่สร้างรายได้เพิ่ม และช่วยลดภาวะโลกรวนได้อีกทางหนึ่งด้วย ถือเป็นต้นแบบที่สามารถนำไปถอดบทเรียน และขยายผลสู่ชุมชนอื่น ๆ ต่อไป”

นายวิเชียร เจริญนนทสิทธิ์ นายกเทศบาลเมืองใหม่บางบัวทอง กล่าวว่า “ข้าพเจ้ารู้สึกยินดีเป็นอย่างยิ่ง ที่ได้รับเกียรติ ร่วมจัดทำโครงการ “คุ้มค่า x ยูนิลีเวอร์ แยกดีมีแต่ได้” โดยได้รับความร่วมมือระหว่างบริษัทยูนิลีเวอร์ และบริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ เป็นชุมชนนำร่องให้ประชาชนในเขตพื้นที่ได้ทำการคัดแยกบรรจุภัณฑ์พลาสติกใช้แล้ว 2 ประเภท คือ ขวด HDPE และ ซองบรรจุภัณฑ์หลายชั้น ซึ่งถือว่าเป็นกิจกรรมที่ดีมากทั้งต่อชุมชน และต่อสิ่งแวดล้อมเป็นการสร้าง ความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนสร้างทัศนคติที่ดีต่อการมีส่วนร่วมดูแลสิ่งแวดล้อม ผ่านการคัดแยกขยะ และข้าพเจ้ามีความยินดีอย่างมากที่จะให้ความร่วมมือต่อไปหากมีสิ่งไหนที่เทศบาลเมืองใหม่บางบัวทองในฐานะที่เป็นองค์กรที่ใกล้ชิดกับประชาชนที่สุดสามารถทำได้ ข้าพเจ้ายินดีจักทำด้วยความยินดีและเต็มความสามารถ เพื่อสร้างจิตสำนึกและการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน ในการร่วมกันดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้คงอยู่อย่างยั่งยืน และเป็นแบบอย่างให้แก่ชุมชนอื่นต่อไป”

ความสำเร็จของโครงการในครั้งนี้ถือเป็นเพียงก้าวแรก และเราจะไม่หยุดเท่านี้ เรายังมีแผนที่จะขยายโครงการไปยังเทศบาลหรือชุมชนอื่นต่อไปอย่างต่อเนื่อง เราจะดำเนินการต่อไปเพื่อสร้างเศรษฐกิจหมุนเวียน รวมไปถึงการสร้างแรงจูงใจและการตระหนักถึงปัญหาโลกร้อนและปัญหาพลาสติก ซึ่งเป็นเรื่องเร่งด่วนและไม่ใช่หน้าที่ของใครเพียงคนใดคนหนึ่ง แต่ต้องเกิดจากความร่วมมือของทุกๆคนและทุกๆภาคส่วนจึงจะสำเร็จได้ และเราหวังว่าสิ่งเหล่านี้จะเป็นต้นแบบให้ผู้ประกอบการ ผู้ผลิตสินค้า Recycler อื่นๆ รวมไปถึงรัฐบาลลุกขึ้นมาทำสิ่งเหล่านี้อย่างจริงจังต่อไป นางณัฏฐิณี กล่าวสรุป

ภาพคนในชุมชนนำขยะมาแลกผลิตภัณฑ์ยูนิลีเวอร์ในโครงการแยกดีมีแต่ได้

เกี่ยวกับยูนิลีเวอร์

ยูนิลีเวอร์เป็นหนึ่งในซัพพลายเออร์ชั้นนำของโลกด้านผลิตภัณฑ์ความงามและการดูแลส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์ในครัวเรือน รวมถึงอาหารและเครื่องดื่ม โดยมียอดขายในกว่า 190 ประเทศและเข้าถึงผู้บริโภค 3.4 พันล้านคนต่อวัน มีพนักงาน 148,000 คน สร้างยอดขายได้ 52.4 พันล้านยูโรในปี 2564 กว่าครึ่งของพื้นที่บริการของบริษัทอยู่ในประเทศกำลังพัฒนาและตลาดใหม่ ยูนิลีเวอร์มีประมาณ 400 แบรนด์ที่พบอยู่ในทุกบ้านทั่วโลก รวมถึง บรีส, ซันซิล, คนอร์, โดฟ, ซันไลต์, วาสลีน, โอโม ไอศกรีมวอลล์ ลักส์, ซิตร้า, โคลสอัพ, คอมฟอร์ท, เทรซาเม่, เคลียร์, แอ็กซ์, เรโซน่า, พอนด์ส และแบรนด์อื่นๆ เช่น ไลฟ์บอย, เลิฟ บิวตี้ แอนด์ แพลนเน็ต, เซเว่นท์เจนเนอเรชั่น, เฮลล์แมนน์ และเซิร์ฟ

วิสัยทัศน์ของเราคือการเป็นผู้นำระดับโลกในธุรกิจที่ยั่งยืน และเพื่อแสดงให้เห็นว่าโมเดลธุรกิจที่มีเป้าหมายและเหมาะสมกับอนาคตของเรานั้นขับเคลื่อนอย่างมีประสิทธิภาพที่เหนือกว่าได้อย่างไร เรามีประเพณีอันยาวนานในการเป็นธุรกิจที่ก้าวหน้าและมีความรับผิดชอบ ย้อนกลับไปในสมัยของ วิลเลียม ลีเวอร์ (William Lever) ผู้ก่อตั้งของเรา ซึ่งเปิดตัวแบรนด์สบู่ ซันไลต์ (Sunlight Soap) ซึ่งเป็นแบรนด์ที่มีเป้าหมายแห่งแรกของโลกเมื่อกว่า 100 ปีที่แล้ว และเป็นหัวใจสำคัญของการบริหารบริษัทของเราในปัจจุบัน

Unilever Compass กลยุทธ์ทางธุรกิจที่ยั่งยืนของเรา

ตั้งขึ้นเพื่อช่วยให้เราส่งมอบประสิทธิภาพที่เหนือกว่าและขับเคลื่อนการเติบโตอย่างยั่งยืนและมีความรับผิดชอบ โดยมุ่งมั่นที่จะ:

  • ทำให้สุขภาพของโลกดีขึ้น
  • ทำให้สุขภาพ ความมั่นใจ และความเป็นอยู่ของผู้คน และ
  • มีส่วนทำให้เกิดโลกที่ยุติธรรมและเปิดกว้างทางสังคมมากขึ้น

ในขณะที่ยังมีอีกหลายสิ่งที่ต้องทำในปีที่ผ่านมา เราภูมิใจที่ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้นำภาคส่วนในดัชนีความยั่งยืนดาวโจนส์ของ S&P สถานะ 'Triple A' ในเกณฑ์มาตรฐานด้านสภาพภูมิอากาศ น้ำ และป่าไม้ของ CDP และได้รับการเสนอชื่อให้เป็นบริษัทอันดับต้น ๆ ในการสำรวจ Global Corporate Sustainability Leaders เป็นปีที่ 11 ติดต่อกัน

ข้อมูลเกี่ยวกับแบรนด์สินค้า: https://www.unilever.co.th/

ข้อมูลเกี่ยวกับ แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ (USLP): https://www.unilever.co.th/planet-and-society/

ข้อมูลเพิ่มเติม กรุณาติดต่อ

ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย

ฝ่ายสื่อสารองค์กร อีเมล Press.Thailand@unilever.com

กลับไปด้านบน