ลอนดอน/รอตเทอร์ดาม - Unilever ฉลองครบรอบหนึ่งทศวรรษของแผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของ Unilever ที่เข้าสู่การดำเนินการปีที่ 10 และเป็นปีสุดท้าย Alan Jope ซีอีโอ โกลบอล เน้นย้ำถึงพันธกรณีของ Unilever ในการสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนสำหรับผู้คน 8 พันล้านคน และเรียกร้องให้มีการดำเนินการร่วมกัน เพื่อมั่นใจว่าวิกฤตความไม่เท่าเทียมกันทางสังคม และสภาพภูมิอากาศไม่ได้ถูกละเลยในขณะที่โรค Covid-19 กำลังแพร่ระบาด
Alan Jope ซีอีโอ โกลบอล กล่าวระหว่างงาน global virtual event ว่า “แผนการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของ Unilever เป็นการพลิกฟื้นธุรกิจของเรา เราบรรลุเป้าหมายบางอย่าง พลาดในบางอย่าง แต่เราก็ได้ทำให้ธุรกิจของเราดีขึ้นจากการพยายามทั้งหมดนี้ ที่เรามาได้ไกลขนาดนี้ ต้องอาศัยการคิดค้น ความทุ่มเท และความร่วมมือกันเป็นอย่างมาก ถือว่าเรามีความคืบหน้าที่ดี แต่ยังมีสิ่งที่ต้องทำอีกมาก
“แรงกดดันกำลังเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ความไม่เท่าเทียมกันทางสังคมมาถึงจุดวิกฤต และโรคระบาดที่เราเผชิญอยู่ ก็ยิ่งทำให้มันเลวร้ายยิ่งขึ้นไปอีก ปัญหาเหล่านี้เป็นเรื่องเร่งด่วนเช่นเดียวกับช่วงก่อนเกิด Covid-19 และเช่นเดียวกันกับ Covid-19 กลุ่มที่เปราะบางที่สุดก็จะได้รับผลกระทบมากที่สุด ผู้คนกว่า 700 ล้านคนอยู่อย่างยากจนแร้นแค้น โดยมีรายได้ต่ำกว่า 1.90 ดอลลาร์ต่อวัน ธนาคารโลกคาดการณ์ว่าจะมีคนยากจนเพิ่มขึ้นอีก 40 ถึง 60 ล้านคนในปี 2020 อันเป็นผลกระทบมาจาก Covid-19 และวิกฤตจากความเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ จะทำให้มีคนยากจนเพิ่มขึ้นอีกหลายร้อยล้านคน
“ธุรกิจในหลายภาคส่วน รัฐบาลในหลายประเทศ องค์กรอิสระ นักวิชาการ นักวิจัย นักวิทยาศาสตร์ เราทุกคนต้องร่วมมือกัน เราไม่สามารถที่พักเรื่องการจัดการกับการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เราไม่สามารถบอกคนยากจนให้รอได้ ปี 2020 นี้ จะเป็นปีที่มีการใช้จ่ายเงินสาธารณะในจำนวนที่คาดไม่ถึง เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แต่เราไม่ควรจะมองหาการทำให้เศรษฐกิจ ‘กลับสู่ภาวะปกติ’ แต่เราต้องฟื้นกลับมาแข็งแกร่งและยืดหยุ่นมากกว่าที่เคยเป็นมา พร้อมที่จะดำเนินการอย่างเด็ดขาดและชัดเจนเพื่อดูแลผู้คนและโลกของเรา” Jope กล่าวเสริม
“เมื่อแผนการดำรงชีวิตที่ยั่งยืนของ Unilever มาถึงจุดสิ้นสุด เราจะนำทุกสิ่งที่ได้เรียนรู้มาและพัฒนาต่อยอด สิ่งที่เราทำได้ดีแล้วเราจะทำให้มากขึ้น เราจะแก้ไขสิ่งที่ยังใช้ไม่ได้ และเราจะกำหนดเป้าหมายใหม่ที่ท้าทายกว่าเดิม ในขณะที่เราไม่ทราบว่าโลกจะเปลี่ยนไปอย่างไรหลังจบเหตุการณ์ Covid-19 ผมเชื่อว่าเราไม่อาจมีอนาคตได้ หากเราไม่ยึดมั่นตามพันธกรณีที่จะดูแลผู้คนและโลกใบนี้เพิ่มขึ้นเป็นสองเท่า
เขากล่าวเสริมว่า “ก่อนเกิดวิกฤต Covid-19 เป็นที่ประจักษ์อยู่แล้วว่าจำเป็นต้องมีการแก้ไขระบบเศรษฐกิจแบบทุนนิยมในปัจจุบัน โลกาภิวัตน์และทุนนิยมนั้นส่งผลดีต่อธุรกิจแบบเรา แต่โลกาภิวัตน์และทุนนิยมที่เบียดเบียนชีวิตผู้คนและโลกของเรานั้นไม่ดี ดังนั้นการขับเคลื่อนระบบทุนนิยมแบบใหม่และการสร้างอนาคตที่ดีกว่านี้ จึงขึ้นอยู่กับธุรกิจอย่างเช่นเรา ร่วมกับพันธมิตร องค์กรอิสระ รัฐบาล นักวิชาการ ซัพพลายเออร์ ลูกค้า”
10 ปีแห่งการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืน และอนาคต
ทุกปี Unilever รายงานผลการดำเนินการเพื่อบรรลุเป้าหมายในรายงานการดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของเรา ความสำเร็จบางส่วน ได้แก่:
- โครงการสุขภาพและสุขอนามัยเข้าถึงผู้คน 1,300 ล้านคน
- ลดการปล่อยของเสียต่อการใช้ผลิตภัณฑ์ของผู้บริโภคลง 32% และลดของเสียที่จะฝังกลบในทุกโรงงานให้เป็นศูนย์
- ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตของเราเองลง 50% และใช้พลังงานทดแทนกริดไฟฟ้า 100% ทั่วทุกไซต์งานของเรา
- ลดน้ำตาลในเครื่องดื่มชาทั้งหมดที่มีรสหวานลง 23% และลดจากกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารลง 56% ในขณะนี้ได้รับมาตรฐานโภชนาการสูง
- การช่วยให้ผู้หญิงจำนวน 2.34 ล้านคนได้เข้าถึงโครงการริเริ่มต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมความปลอดภัย พัฒนาทักษะ หรือสร้างโอกาสใหม่ ๆ เราได้ดำเนินการเพื่อที่ทำงานซึ่งเท่าเทียมทางเพศ ซึ่งตำแหน่งฝ่ายบริหาร 51% เป็นผู้หญิง
Rebecca Marmot ประธานผู้บริหารฝ่ายความยั่งยืนกล่าวว่า “มีสิ่งที่โดดเด่นมากมายในช่วงสิบปีที่ผ่านมา แบรนด์การดำรงชีวิตอย่างยั่งยืนของ Unilever ซึ่งรวมถึงแบรนด์ต่าง ๆ เช่น Dove, Hellmann's และ Domestos โดยเฉลี่ยมีอัตราการเติบโตที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ตั้งแต่เริ่มต้นใช้หลักการนี้เมื่อปี 2014 เราประหยัดค่าใช้จ่ายได้กว่า 1 พันล้านยูโร ด้วยการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้น้ำและพลังงานในโรงงานให้ดีขึ้น ใช้วัตถุดิบให้น้อยลง และทำให้เกิดของเสียน้อยลง USLP กลายเป็นปัจจัยชี้ขาดในการดึงดูดบุคลากรที่มีความสามารถยอดเยี่ยม และเป็นเครื่องมือในการสร้างพันธมิตรที่แน่นแฟ้นกับองค์กรอิสระ รัฐบาล และธุรกิจอื่น ๆ“แต่การเดินทางของ USLP ก็ทำให้พบอุปสรรคด้วยเช่นกัน Unilever มีโครงการมากมายที่ช่วยปรับปรุงคุณภาพชีวิตและสร้างโอกาสให้กับผู้หญิง แต่การวัดผลกระทบที่แท้จริงทำได้ยากมาก ในทำนองเดียวกันความซับซ้อนของห่วงโซ่อุปทานระดับโลกทั้งหลายที่เราทำการจัดซื้อ ทำให้เป้าหมายการจัดซื้ออย่างยั่งยืนของเรามีความท้าทายเพิ่มขึ้น” Marmot กล่าวเสริม
ต่อจาก USLP Unilever มุ่งมั่นที่จะเป็นผู้นำด้านความยั่งยืนต่อไป และได้บูรณาการกลยุทธ์องค์กรใหม่อย่างเต็มรูปแบบ: แนวทางเข็มทิศ Unilever Compassแนวทาง Unilever Compass นั้นมีพื้นฐานมาจากความเชื่อหลักสามประการ: แบรนด์ที่มีจุดประสงค์จะเติบโต บริษัทที่มีจุดประสงค์จะคงอยู่ และพนักงานที่มีจุดประสงค์จะก้าวหน้า เพื่อสนับสนุนความเชื่อทั้งสามของเรา แนวทาง Unilever Compass ลำดับความสำคัญของเรื่องที่จะต้องดำเนินการในระยะ 15 ปีที่ครอบคลุมธุรกิจทุกแขนงของ Unilever และระบบนิเวศที่กว้างขวางขึ้น เรื่องสำคัญแต่ละเรื่องจะมีเป้าหมายที่มุ่งมั่น พร้อมทั้งโปรแกรมและโครงการที่สอดคล้องกัน สิ่งเหล่านี้จะตอบสนองต่อความท้าทายที่สำคัญ เช่น บรรจุภัณฑ์และขยะ ความเท่าเทียมทางเพศ สิทธิมนุษยชน และมูลค่ายุติธรรม รวมถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการมีส่วนร่วมในสังคม Compass สนับสนุนแนวทางด้วยความเข้มงวดเช่นเดียวกับ USLP แต่จะมองภาพรวม การมีส่วนร่วม และความไปได้ไกลมากขึ้นกว่าเดิม เราจะเปิดเผยรายละเอียดเพิ่มเติมในเร็วๆนี้
Alan Jope สรุปว่า “USLP กำลังจะปิดฉากลงหลังดำเนินการมาแล้ว 10 ปี แต่การเดินทางเพื่อบรรลุเป้าหมายในการสร้างวิถีชีวิตที่ยั่งยืนยังไม่จบอย่างแน่นอน ในความจริงแล้ว ขณะที่โลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น พนักงาน ผู้บริโภค ลูกค้า ซัพพลายเออร์ พันธมิตรของเราล้วนคาดหวังจากเรามากขึ้น เรารู้ว่าเราสามารถนำมาซึ่งการเปลี่ยนแปลงต่อไป แต่เราต้องทำได้ดีขึ้น โดดเด่นยิ่งขึ้น และเร็วขึ้น"