ข้ามไปที่ เนื้อหา

Living Wage คืออะไร? รู้จักค่าจ้างเพื่อชีวิตของยูนิลีเวอร์ที่ไปไกลกว่าค่าแรงขั้นต่ำ

ที่ตีพิมพ์:

ไม่ว่าจะเป็นคนงานและพนักงานในตำแหน่งใดก็ตามสมควรได้รับค่าครองชีพที่เหมาะสมกับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ในปัจจุบัน และค่าจ้างที่ยุติธรรมจะนำมาซึ่งประโยชน์ต่อครอบครัว ชุมชน และธุรกิจของเรา ความทะเยอทะยานในระยะยาวของเราคือการดำรงชีวิตที่เหมาะสมสำหรับผู้คน พนักงานในห่วงโซ่คุณค่าของเรา รวมถึงการได้รับค่าครองชีพที่ยุติธรรมภายในปีพ.ศ.2573

พนักงานฝ่ายผลิตทำงาน ในโรงงาน

ทำความรู้จัก Living Wage คืออะไร?

เราใช้คำจำกัดความที่ตกลงกันโดยพันธมิตรค่าจ้างเพื่อการครองชีพสากล (Global Living Wage Coalition) ซึ่งเป็นหุ้นส่วนที่ส่งเสริมความรู้และข้อมูลเกี่ยวกับระดับค่าครองชีพ ซึ่งได้ให้คำจำกัดความไว้ว่า ค่าครองชีพ หรือ ค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ ค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ (Living Wage) คือ ค่าตอบแทนที่คนงานได้รับสำหรับการทำงานตามมาตรฐานในหนึ่งสัปดาห์ในสถานที่ใดสถานที่หนึ่ง ซึ่งเพียงพอต่อการมีมาตรฐานการครองชีพที่ดีสำหรับตัวคนงานและครอบครัวของเขา ได้แก่ อาหาร น้ำ ที่อยู่อาศัย การศึกษา การดูแลสุขภาพ การขนส่ง เสื้อผ้า และสิ่งจำเป็นอื่นๆ รวมถึงเงินทุนสำรองสำหรับเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิด

โดยแนวคิดเรื่องค่าจ้างเพื่อชีวิตครอบคลุมทั้งคนกลุ่มพนักงานต่างๆ ที่ถูกว่าจ้างมา เช่น พนักงานในโรงงาน หรือพนักงานขายที่ช่วยจัดจำหน่ายสินค้า ค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ ค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่นี้ควรเพียงพอสำหรับการดำรงชีวิตขั้นพื้นฐานของพวกเขา

ยูนิลีเวอร์กับค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่

ยูนิลีเวอร์ได้ให้คำมั่นสัญญาเรื่องค่าครองชีพสำหรับพนักงาน โดยมีการจัดทำกรอบการทำงานเพื่อการชดเชยที่ยุติธรรม ที่เราได้ให้คำมั่นว่าจะจ่ายค่าจ้างที่เป็นธรรมแก่พนักงานทุกคน

ค่าครองชีพพนักงาน

ยูนิลีเวอร์ใช้หลักจรรยาบรรณในการดำเนินงานของเรา โดยระบุเกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้างขั้นต่ำให้แก่พนักงานไว้ว่า

"เราจะมอบแพ็คเกจค่าตอบแทนรวมที่เป็นไปตามหรือเกินกว่ามาตรฐานขั้นต่ำทางกฎหมายและสอดคล้องกับมาตรฐานอุตสาหกรรมในแต่ละประเทศที่เราดำเนินการอยู่ เรามุ่งมั่นที่จะให้ค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ ค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่แก่พนักงาน เพื่อให้มั่นใจว่าพวกเขาสามารถตอบสนองความต้องการในชีวิตประจำวันได้”

ยูนิลีเวอร์ในแต่ละประเทศจะมีการยืนยันว่าปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณทุกปี และจะมีการรายงานสถานะของธุรกิจในแต่ละประเทศเทียบกับมาตรฐานของกรอบการทำงานของเรา

เพื่อให้สามารถตรวจสอบได้ว่ายูนิลีเวอร์มีการจ่ายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ให้แก่พนักงานอย่างถูกต้อง

นอกจากพนักงานประจำแล้ว ยูนิลีเวอร์ยังมีนโยบายภายในของเราเกี่ยวกับการจ้างงานคนงานชั่วคราวอย่างยั่งยืน โดยกำหนดให้คนงานชั่วคราวที่เข้ามาทำงานในโรงงานของเรานั้น จะได้รับการกำหนดเงื่อนไขที่เทียบเคียงได้กับพนักงาน รวมถึงการจ่ายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ และเพื่อให้เป้าหมายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ของเราเป็นจริง ยูนิลีเวอร์จึงได้จัดทำแผนปฏิบัติการที่ต่อยอดจากความคืบหน้าที่เกิดขึ้น โดยพิจารณาจากช่องว่างระหว่างค่าจ้างจริงและค่าจ้างมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนดที่มากที่สุด เพื่อหาจุดที่เราสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มากที่สุด

ตัวอย่างค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ที่ประสบความสำเร็จของยูนิลีเวอร์

ยูนิลีเวอร์เป็นนายจ้างที่ได้รับการรับรองในเรื่องค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ ค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ โดยในปีพ.ศ. 2564 เราได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการที่มอบให้โดยองค์กรที่เป็นกลางและได้รับการยอมรับในระดับสากลครั้งแรกในฐานะนายจ้างที่จ่ายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ จากเครือข่ายค่าจ้างที่เป็นธรรม (Fair Wage Network) และยังคงจ่ายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ให้กับพนักงานของเราทั่วโลก

ค่าจ้างที่ยุติธรรมเป็นหลักการของนโยบายการจัดหาอย่างมีความรับผิดชอบ (Responsible Sourcing Policy หรือ RSP) และนโยบายคู่ค้าทางธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Business Partner Policy) ซึ่งรวมถึงข้อกำหนดบังคับที่คู่ค้าของเราต้องปฏิบัติตามเพื่อทำธุรกิจกับเรา ต่อมาในปีพ.ศ. 2565 เราได้แทนที่นโยบายทั้งสองนี้ด้วยนโยบายคู่ค้าที่มีความรับผิดชอบ (Responsible Partner Policy หรือ RPP) เพื่อให้สอดคล้องกับคำมั่นสัญญาของเราที่มีต่อพนักงานของเราเอง โดยนโยบายดังกล่าวยังรวมถึงข้อกำหนดบังคับในอนาคตสำหรับซัพพลายเออร์ผู้จัดหาในการจ่ายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ให้กับพนักงานของพวกเขาอีกด้วย

เป้าหมายการสนับสนุนของเรา

ความมุ่งมั่นในระยะยาวของเราคือการสร้างความเป็นอยู่ที่ดีสำหรับผู้คนในห่วงโซ่คุณค่าของเรา รวมถึงการได้รับค่าจ้างเพื่อชีวิต หรือ ค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ ภายในปี พ.ศ. 2573

เพื่อให้บรรลุเป้าหมายค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ เราได้วางแผนปฏิบัติการที่ต่อยอดจากความก้าวหน้าที่ทำได้ โดยพิจารณาจากจุดที่มีช่องว่างหรือความต่างระหว่างค่าจ้างจริงกับค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่มากที่สุด จุดที่ความปลอดภัยทางสังคมสำหรับแรงงานอ่อนแอที่สุด และจุดที่เราสามารถสร้างผลกระทบเชิงบวกได้มากที่สุด โดยพิจารณาจากการดำเนินธุรกิจและขนาดของเราในแต่ละประเทศ

นอกจากนี้ เรายังให้ความสำคัญกับการที่คู่ค้าที่มีความร่วมมืออย่างใกล้ชิดในการผลิตสินค้าให้กับเรา (บุคคลที่สาม) จะปิดช่องว่างค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่ในค่าจ้างของแรงงานของพวกเขา สำหรับห่วงโซ่อุปทานทางการเกษตรของเรา เรามุ่งเน้นไปที่พืชผลที่พึ่งพาเกษตรกรรายย่อยซึ่งมีความสำคัญต่อธุรกิจของเราเป็นอย่างมาก หลังจากประเมินช่องว่างรายได้เพื่อชีวิตสำหรับเกษตรกรรายย่อยของพืชผลเหล่านี้แล้ว เราจะจัดลำดับความสำคัญของพืชผลหลักและพัฒนาแผนการดำเนินงานที่ปรับให้เหมาะสม

ยูนิลีเวอร์ร่วมสร้างความตระหนักรู้เกี่ยวกับค่าจ้างเพื่อความเป็นอยู่

การให้ค่าจ้างที่เพียงพอไม่เพียงแต่ช่วยให้คนงานมีความมั่นคงทางการเงิน แต่ยังส่งเสริมคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นในด้านอื่นๆ เช่น การเข้าถึงการศึกษาและการดูแลสุขภาพ

เรามุ่งหวังที่จะทำงานร่วมกับพันธมิตรในห่วงโซ่อุปทาน ระดมบริษัทที่มีแนวคิดเดียวกัน เพื่อส่งเสริมการจ่ายค่าจ้างที่ยุติธรรมและเพียงพอ เราเชื่อว่าการร่วมมือกันจะช่วยสร้างความเปลี่ยนแปลงที่ยั่งยืนและเป็นประโยชน์ต่อทุกฝ่ายในห่วงโซ่อุปทานของเรา

กลับไปด้านบน