ทำความรู้จัก Carbon Footprint หนึ่งในสาเหตุภาวะโลกร้อน
- Carbon Footprint คืออะไร
Carbon Footprint หรือรอยเท้าคาร์บอน คือปริมาณการปล่อยมลพิษหรือก๊าซเรือนกระจก ที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่มีต่อระบบสิ่งแวดล้อม ซึ่งครอบคลุมวงจรการผลิตและการบริโภคทั้งหมด ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิตและประกอบชิ้นส่วน การขนส่ง การใช้งาน และการจัดการของเสียต่างๆ หลังใช้งาน
- การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่พบได้บ่อยมีอะไรบ้าง
การปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่พบได้บ่อย และมักเป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนมีมากมาย เช่น การเผาไหม้เชื้อเพลิง ไม่ว่าจะเป็นในยานพาหนะต่างๆ หรืออุปกรณ์สำหรับการเกษตรสมัยใหม่ การสร้างฟองโฟมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดชนิดต่างๆ การทิ้งขยะและการเผาขยะ หรือแม้กระทั่งการเกิดจุลินทรีย์จากการย่อยอาหารของสัตว์อย่างวัวหรือควายก็ทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้เช่นกัน
ยูนิลีเวอร์ กับการลดก๊าซเรือนกระจกในภาคอุตสาหกรรม
ในฐานะที่ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทที่มีผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อม เราให้ความสำคัญกับการลดก๊าซเรือนกระจกตั้งแต่การดูแลโรงงานให้ได้มาตรฐาน การจัดหาวัตถุดิบที่ยั่งยืนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การใช้นวัตกรรมต่างๆ เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมทั้งตัวบรรจุภัณฑ์ไปจนถึงตัวผลิตภัณฑ์ และยูนิลีเวอร์ก็ยังให้ความสำคัญกับกระบวนการขนส่งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมอีกด้วย
แต่หลายคนอาจยังไม่เคยทราบว่าในโลกดิจิทัล แม้แต่เว็บไซต์ (Websites) ต่างๆ ในปัจจุบันก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของปัญหาการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเช่นเดียวกัน โดยนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยแลงคาสเตอร์ได้มีการศึกษาผลกระทบและประเมินเอาไว้โดยพบว่าภาคส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) มีสัดส่วนประมาณ 2.1–3.9% ของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกทั่วโลก ถือได้ว่าเป็นสัดส่วนที่สูงที่ทำให้การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ทัดเทียมกับอุตสาหกรรมการบินทั่วโลก เราจึงตรวจสอบบนหน้าเว็บไซต์ของ Unilever.com และค้นพบ 5 วิธีที่จะลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากเว็บไซต์ของเรา ทำให้องค์กรของเรามีความยั่งยืนทางดิจิทัลมากยิ่งขึ้น ดังนี้
การใช้บริการจากโฮสต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green hosting)
เว็บไซต์ของยูนิลีเวอร์ติดตั้งอยู่บน Netlify ซึ่งมีผู้ให้บริการเป็น Google Cloud และ Amazon Web Services โดย Google Cloud เป็นผู้ให้บริการเว็บโฮสติ้งที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายความว่าพลังงานที่ขับเคลื่อนศูนย์ข้อมูลและโฮสต์ไซต์ของเรานั้นถูกสร้างขึ้นจากแหล่งที่สะอาดและยั่งยืน เช่นพลังงานจากลม พลังงานแสงอาทิตย์ หรือพลังงานไฮโดรเจน ส่วน Amazon Web Services ก็วางแผนที่จะใช้พลังงานจากแหล่งที่มีการผลิตพลังงานจากการใช้ 100% ภายในปี พ.ศ. 2568 เช่นกัน
การลดภาระการใช้พลังงานจากไฟล์รูปภาพ
รูปภาพเป็นชนิดทรัพยากรที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในเว็บไซต์ ทั้งยังมีขนาดใหญ่ที่สุดในแง่ของการใช้ข้อมูลและพลังงาน ดังนั้นเพื่อเป็นการลดภาระการใช้พลังงานที่มีขนาดใหญ่นี้ลง ยูนิลีเวอร์จึงเลือกบันทึกภาพในรูปแบบ WebP แทนรูปแบบฟอร์แมตแบบดั้งเดิม เช่น JPEG และ PNGs ซึ่งสามารถช่วยให้ภาพมีขนาดเล็กลงและใช้ข้อมูลน้อยกว่า JPEG ถึง 30% โดยไม่สูญเสียคุณภาพความคมชัดของรูปภาพ
การรับชมใน 'โหมดมืด (Dark mode)' ช่วยประหยัดพลังงาน
ทางด้านซ้ายของแถบค้นหาบนเว็บไซต์ Unilever.com จะมีปุ่ม 'ธีม' โดยเป็นการออกแบบเว็บไซต์ที่อนุญาตให้ผู้เยี่ยมชมสามารถเลือกชมเว็บไซต์ในโหมดมืดได้ ทำให้ช่วยประหยัดพลังงานหน้าจอได้ถึง 42% เมื่อเข้าชมเว็บไซต์บนหน้าจอ OLED ที่มักอยู่ในโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากใช้ข้อมูลน้อยกว่าและช่วยให้โหลดเร็วขึ้น นอกจากนี้โหมดมืดยังทำให้เว็บไซต์ได้รับการเข้าถึงมากขึ้นเนื่องจากช่วยลดอาการปวดตาน้อยลงนั่นเอง
การเพิ่มปุ่มเล่น/หยุดชั่วคราวให้กับวิดีโอ
เราได้เพิ่มปุ่มเล่น/หยุดชั่วคราวให้กับวิดีโอทั้งหมดของเรา แม้ว่าบางส่วนยังคงใช้ระบบการเล่นอัตโนมัติ ที่ทำให้ต้องใช้พลังงานมาก แต่ยูนิลีเวอร์ก็ยังคงมุ่งมั่นพัฒนา เพื่อค้นหาวิธีเพิ่มประสิทธิภาพเนื้อหาวิดีโออย่างต่อเนื่อง และหากเป็นไปได้ เราตั้งเป้าที่จะแทนที่วิดีโอด้วยภาพเคลื่อนไหว ภาพประกอบ และภาพนิ่ง
แนวคิดการออกแบบที่ปราศจากขยะ
ยิ่งเว็บไซต์หรือหน้าเว็บไซต์มีขนาดและความซับซ้อนมากขึ้นเท่าใด การส่งและประมวลผลข้อมูลก็จะยิ่งต้องใช้พลังงานมากขึ้นเท่านั้น เรารับรองว่านักออกแบบ นักพัฒนา และผู้จัดการผลิตภัณฑ์ทุกคนทำงานและจัดการหน้าเว็บไซต์ให้มีขนาดอยู่ที่ 1.5 เมกะไบต์ในแต่ละหน้า (ค่าเฉลี่ยทั่วโลกคือ 2.4 เมกะไบต์) ซึ่งสิ่งนี้นี่เองที่ทำให้เพจต่างๆ ของยูนิลีเวอร์เข้าถึงได้มากขึ้น ที่สำคัญเรายังทำงานอย่างต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่าเนื้อหาทุกอย่างจะเพิ่มประสบการณ์ใช้งานเว็บไซต์ของผู้ใช้ให้ดีมากขึ้น