ข้ามไปที่ เนื้อหา

ยูนิลีเวอร์ร่วมสร้างความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมในการจัดการมลพิษพลาสติกในงาน 3rd Annual Sustainability Week Asia

ที่ตีพิมพ์:

ยูนิลีเวอร์เข้าร่วมเข้าร่วมเสวนาในงาน 3rd Annual Sustainability Week Asia

ยูนิลีเวอร์มีส่วนร่วมในการสร้างความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกอย่างยั่งยืน และให้ความสำคัญกับการจัดการมลพิษพลาสติก โดยนายวิเวกอนันต์ ซิสท์ลา ผู้อำนวยการฝ่ายงานวิจัยและพัฒนาผลิตภัณท์ความงามและสุขภาพภาคพื้นอาเซียนได้รับเชิญเข้าร่วมเสวนาในงาน 3rd Annual Sustainability Week Asia ประจำปี พ.ศ. 2567 ในหัวข้อ “มาตรการเกี่ยวกับพลาสติก: แนวทางแห่งวงจรชีวิตเพื่อลดมลพิษจากพลาสติก”

งานนี้จัดขึ้นโดย Economist Impact ซึ่งมีผู้นำระดับโลก ตัวแทนภาครัฐ และผู้บริหารจากองค์กรธุรกิจทั่วโลกเข้าร่วมกว่า 800 ราย โดยยูนิลีเวอร์ได้ร่วมอภิปรายหัวข้อดังกล่าวร่วมกับนายเซบาสเตียน บอร์น ผู้อำนวยการฝ่ายจัดซื้อและความยั่งยืนของจากไดน่าแพ็ค เอเชีย และ นายอุเมช มาดาวาน ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัย จาก The Circulate Initiative ในประเด็นเกี่ยวกับความท้าทายที่เกี่ยวเนื่องกับพลาสติกและกฎระเบียบที่จำเป็นต่อการสร้างสรรค์เศรษฐกิจหมุนเวียน โดยยูนิลีเวอร์ได้ตระหนักถึงความสำคัญและสนับสนุนให้ทุกภาคส่วนร่วมมือกันเพื่อเปลี่ยนวงจรชีวิตของพลาสติกตั้งแต่ขั้นตอนการผลิตไปจนถึงการกำจัดพลาสติก

ปัญหาปริมาณขยะพยาสติกในประเทศไทย

อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้การใช้พลาสติกในกลุ่มประเทศ G20 มีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 451 ล้านตันภายในปี พ.ศ. 2593 หรือเติบโตขึ้นถึงสองเท่าจากปี พ.ศ. 2562 ขณะที่งานวิจัยซึ่งตีพิมพ์ในวารสาร Science Advances ของสหรัฐอเมริกาเมื่อปี พ.ศ. 2564 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 10 จากทุกประเทศทั่วโลกด้วยปริมาณขยะทางทะเล 23,000 ล้านตัน โดยมีขยะพลาสติกเพียง 1 ใน 4 ส่วนของปริมาณทั้งหมดเท่านั้นที่ถูกนำมารีไซเคิล ทำให้ประเทศไทยต้องบรรจุมาตรการบรรเทาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเป็นวาระแห่งชาติ เนื่องจากพลาสติกมีส่วนช่วยทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในทุกขั้นตอนตั้งแต่การผลิตจนถึงการกำจัด ซึ่งปริมาณของพลาสติกที่เพิ่มขึ้นจะทำให้ประชากรโลกเผชิญวิกฤตสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงขึ้นในอนาคต

แนวทางในการลดปริมาณการใช้พลาสติกของยูนิลีเวอร์

ยูนิลีเวอร์เข้าร่วมเข้าร่วมเสวนาในหัวข้อ “มาตรการเกี่ยวกับพลาสติก: แนวทางแห่งวงจรชีวิตเพื่อลดมลพิษจากพลาสติก”

นายวิเวกอนันต์ ได้กล่าวถึงแนวทางในการลดปริมาณการใช้พลาสติกของยูนิลีเวอร์โดยสรุปดังนี้

  1. ยูนิลีเวอร์มีส่วนร่วมที่จะลดปริมาณการใช้พลาสติกตามที่สนธิสัญญาโลกเพื่อแก้ปัญหาพลาสติกกำหนดไว้ โดยเรามีแผนงานด้านบรรจุภัณฑ์ที่ครอบคลุมทั้งการใช้พลาสติกน้อยลง (Less Plastic) การใช้พลาสติกคุณภาพดีขึ้น (Better Plastic) รวมถึงการไม่ใช้พลาสติก (No Plastic) ซึ่งเริ่มตั้งแต่ขั้นตอนของการออกแบบโดยใช้โซลูชันทางเทคนิค ออกแบบผลิตภัณฑ์ที่มีน้ำหนักเบาและลดปริมาณพลาสติกที่ใช้ และใช้พลาสติกรีไซเคิล (Post-consumer recycled plastic) เช่น ในการผลิตขวดซันไลต์ เรายังได้เปิดตัวรีฟิล สเตชั่น (Refill Station) ที่อินโดนีเซียและประเทศอื่นๆ ในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อสร้างโมเดลธุรกิจที่ปรับเพิ่มหรือลดสเกลได้ โดยร่วมมือกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งจากภาคเทคโนโลยีและอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์รวมถึงองค์กรที่มีทิศทางการทำธุรกิจคล้ายกัน อย่างไรก็ตาม แม้จะมีโซลูชันทางเทคนิคและโมเดลธุรกิจหลายรูปแบบ แต่ความท้าทายของพลาสติกอยู่ที่สเกลการใช้เมื่อต้องคำนึงถึงมูลค่า ซึ่งพลาสติกจะเสียมูลค่าอย่างมหาศาลหากไม่ได้ถูกเก็บรวบรวมไว้ จึงต้องสร้างมูลค่าให้กับขั้นตอนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำถึงปลายน้ำ โดยในเมืองมุมไบ ยูนิลีเวอร์ยังได้ร่วมกับโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และชุมชนเพื่อสร้างธนาคารขยะ เรามีวิธีการทำงานร่วมกันหลายรูปแบบเพื่อสร้างสรรค์โครงการนำร่องที่ผสมผสานกิจกรรมสร้างการรับรู้ในชุมชนเข้ากับการคัดแยกขยะและการรีไซเคิล ทำให้อัตราการรีไซเคิลเติบโตขึ้นจาก 30% เป็น 50% นอกจากนี้ สิ่งสำคัญคือการสื่อสารที่สม่ำเสมอเพื่อสร้างความตระหนักและให้ความรู้ การร่วมมือกับคนเก็บขยะอิสระโดยอำนวยความสะดวกด้านความปลอดภัยและสุขอนามัย ทั้งหมดนี้จะช่วยสร้างความคุ้มค่าทั้งในมิติด้านเศรษฐกิจและสุขภาพจิตของผู้คน
  2. ในด้านกฎระเบียบข้อบังคับ ยูนิลีเวอร์เป็นสมาชิกในกลุ่มความร่วมมือทางธุรกิจสำหรับสนธิสัญญาโลกว่าด้วยพลาสติก กำลังพยายามที่จะให้ INC4 ลดการปนเปื้อนตามหลักวิทยาศาสตร์ในพลาสติก เพื่อให้พลาสติกยังคงอยู่ในห่วงโซ่อุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมตั้งแต่ต้นน้ำ โซลูชันการรีไซเคิล รวมไปถึงหลักการทั่วไปเกี่ยวกับการขยายขอบเขตความรับผิดชอบของผู้ผลิต (Extended Producer Responsibility หรือ EPR) ทั่วโลก อาทิ ข้อปฎิบัติที่เป็นธรรม โครงสร้างค่าธรรมเนียมและการกำกับดูแลอย่างถูกต้อง การมีส่วนร่วมของภาคส่วนนอกระบบ เพื่อให้การเก็บรวบรวมและการจัดการวัสดุรีไซเคิลจะมีคุณภาพดีขึ้น
  3. ยูนิลีเวอร์มีส่วนร่วมที่จะลดการใช้พลาสติกที่ผลิตใหม่ โดยในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ยูนิลีเวอร์เป็นบริษัทเดียวที่ใช้ HDPE หรือพลาสติกพอลิเอทิลีนความหนาแน่นสูงชนิดรีไซเคิลซึ่งราคาสูงกว่าพลาสติกที่ผลิตใหม่อย่างมาก ทำให้เกิดความต้องการใช้วัสดุเหลือทิ้งจากกระบวนการผลิต อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการพัฒนาทั้งในระดับสเกลและราคา โดยระดับสเกลจะเกิดขึ้นจากการทำงานร่วมกันเพื่อวางกรอบของกฏระเบียบข้อบังคับ ซึ่งยูนิลีเวอร์ได้รับความร่วมมือในรูปแบบต่างๆ ผ่านการทำงานร่วมกับพันธมิตรของเรา ไม่ว่าจะเป็นการร่วมมือกับ Circulate Initiative เพื่อช่วยให้แนวทางและหลักการของการเปลี่ยนผ่านอย่างเป็นธรรม (Just Transition), การผนึกพลังกับสภาเศรษฐกิจโลก หรือ World Economic Forum ในด้านกระบวนการใช้ซ้ำที่ปรับสเกลได้ เพื่อสร้างหลักการที่เหมาะสมสำหรับรีฟิล สเตชั่น (Refill Station) ได้ อย่างไรก็ตาม เรายังเชื่อว่าจะต้องอาศัยความร่วมมือในวงกว้างจากทั้งอุตสาหกรรมโดยมีสนธิสัญญาโลกเป็นปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญ

ภายใต้ความมีส่วนร่วมที่จะสร้างความยั่งยืนของยูนิลีเวอร์ เราได้ดำเนินการลดการใช้พลาสติกที่ผลิตใหม่มีความคืบหน้าอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน มีการใช้วัสดุรีไซเคิลเพิ่มขึ้นรวมถึงสร้างสรรค์นวัตกรรมบรรจุภัณฑ์ใหม่ๆ อย่างไรก็ตาม เราเชื่อว่าการดำเนินที่จะบรรลุแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติกจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายภาคส่วน และ การมีกฎเกณฑ์ภายใต้สนธิสัญญาโลกว่าด้วยพลาสติกจะเป็นอีกทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างการเปลี่ยนแปลงของระบบในระดับโลกได้

กลับไปด้านบน