ข้ามไปที่ เนื้อหา

เจาะลึกเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ และผลิตภัณฑ์ที่ถูกหลักโภชนาการ

ที่ตีพิมพ์:

เพราะผู้คนเริ่มหันมาให้ความสนใจกับสุขภาพมากขึ้น แต่การทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ มักจะแลกมาด้วยรสชาติที่อร่อยน้อยลงกว่าปกติ ทำให้หลายคนต้องล้มเลิกการกินดีไป แน่นอนว่ายูนิลีเวอร์เข้าใจในเหตุผลนี้ดี เราจึงเจาะลึกเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ พร้อมแชร์วิธีสร้างพฤติกรรมกินดี รับมือกับความท้าทายทางโภชนาการ ทั้งยังเสริมสร้างสุขภาพดีระยะยาวให้กับคนไทย

เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

โภชนาการคืออะไร ความสำคัญของโภชนาการเป็นอย่างไร

โภชนาการ หรือโภชนาการอาหาร หมายถึงสารอาหารที่ได้รับจากอาหารที่บริโภคเข้าไป เมื่อดูดซึมแล้วสามารถนำไปดูแลอวัยวะต่างๆ ภายในร่างกายให้ทำหน้าที่ได้อย่างสม่ำเสมอ สร้างการเจริญเติบโต และซ่อมแซมส่วนต่างๆ ของร่างกายได้ ซึ่งถือเป็นความสำคัญของโภชนาการที่เกี่ยวโยงกันตั้งแต่การเลือกซื้ออาหาร การบริโภคอาหารให้ครบ 5 หมู่ และการบริโภคในปริมาณที่พอเหมาะในแต่ละวัน ดังนั้นจึงมีผู้คนมากมายที่เริ่มหันมาเลือกซื้ออาหารให้ถูกหลักโภชนาการมากขึ้น จนเกิดเป็นเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพในปัจจุบันนั่นเอง

3 เทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพ

เทรนด์อาหารแบบ Feel good food, Modernized comfort food, Power of contrast

1. Feel Good Food กินดีแบบเหมาะสม

Feel Good Food เป็นหนึ่งในเทรนด์อาหารของผู้บริโภคในยุคปัจจุบัน ซึ่งเป็นการทานอาหารที่ใส่ใจสุขภาพแบบพอดี ไม่สุดโต่งเกินไป ด้วยการเลือกอาหารที่สร้างสมดุลทางอารมณ์ ร่างกาย และจิตวิญญาณ ทําให้ผู้คนรู้สึกดีต่อตัวเอง และต่อโลก ทั้งในแง่สุขภาพ ความรู้สึก และความยั่งยืน ซึ่งแบ่งได้เป็น 3 เทรนด์ ดังนี้

Cooking Healthier เมนูเดิม ที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม

การเปลี่ยนเมนูเดิมๆ ให้ดีต่อสุขภาพมากกว่าเดิม เป็นการดูแลตัวเองที่ยังคงรักษาความอร่อยของอาหารไว้ เช่น อาจเปลี่ยนจากการทอด เป็นการต้ม ย่าง หรือนึ่งแทน เปลี่ยนจากการใช้น้ำตาลทรายขาวเป็นน้ำตาลทรายแดง เปลี่ยนจากการใช้น้ำมันหมู มาเป็นน้ำมันมะกอก รวมถึงการเพิ่มรสชาติที่เป็นเอกลักษณ์ด้วยสมุนไพร ที่นอกจากช่วยชูรสและกลิ่นแล้ว ยังเพิ่มความน่าสนใจและความอร่อยให้กับเมนูอาหารมากขึ้นด้วย

Minimalist Cuisine ใช้วัตถุดิบน้อยลง ปรุงง่ายมากขึ้น

Minimalist Cuisine คือเทรนด์อาหารที่สอดคล้องกับการตระหนักถึงเรื่องสิ่งแวดล้อมที่กำลังมาแรงในปัจจุบัน ซึ่งในส่วนของการทำอาหารนั้น เทรนด์นี้เน้นที่จะลดการใช้วัตถุดิบลง ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากขึ้น ทำเมนูที่หลากหลายจากวัตถุดิบเพียงไม่กี่อย่าง เพราะคุณภาพสำคัญมากกว่าปริมาณของอาหาร ทั้งยังเป็นการช่วยลดโอกาสการเกิดขยะอาหารอีกด้วย

Let’s Grab Healthy “Smeal” มื้อเล็ก แต่อิ่มท้อง

Smeal มาจากคำว่า Snack + Meal ซึ่งมีความหมายถึง มื้อที่เล็กกว่ามื้อปกติ แต่อิ่มท้องได้เช่นกัน ซึ่งเป็นเทรนด์ที่สอดคล้องกับความเร่งรีบในการใช้ชีวิตของคนในปัจจุบัน ที่คนยุคใหม่ มักจะมีเวลาทานอาหารน้อยลง ต้องการความรวดเร็วมากขึ้น แต่แน่นอนว่าก็ไม่ลืมที่จะให้ความสำคัญกับเรื่องสุขภาพ Smeal จึงเป็นอีกเทรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะทั้งรวดเร็ว อิ่มท้อง และมีโภชนาการอาหารที่เหมาะสม

2. Modernized Comfort Food อาหารแห่งความทรงจำ ที่ปรับให้เข้ากับปัจจุบัน

เทรนด์ Modernized Comfort Food คือการหยิบจับเอาอาหารที่ทำให้หวนคิดถึงความทรงจําที่ดี หรืออาหารที่ทานแล้วปรับอารมณ์ ให้รู้สึกดีขึ้น มาปรับให้ทันสมัยเข้ากับโลกปัจจุบัน เสมือนเป็นการเอาของเก่ามาเล่า ตีความใหม่ หรือสร้างสรรค์ใหม่ให้เกิดความน่าสนใจและดึงดูด ซึ่งประกอบด้วยอีก 2 เทรนด์ย่อยๆ ดังนี้

Childhood Food เมนูวัยเด็ก ที่อร่อยได้ตอนโต

จากความยากลําบากและความวุ่นวายในการใช้ชีวิตตั้งแต่ช่วงโควิด-19 ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงขึ้นมากมาย ส่งผลให้ผู้คนเกิดความรู้สึกโหยหาอดีด (Nostalgia) จนกลายเป็นเทรนด์ระดับโลกอย่างกว้างขวางในทุกมิติ ทั้งการแต่งกาย การใช้ชีวิต ไปจนถึงเรื่องอาหาร ที่ผู้คนหวนคิดถึงเมนูวัยเด็กที่คุ้นเคยและอุ่นใจทุกครั้งที่ได้ทาน จนเกิดการนำมาประยุกต์ให้เข้ากับปัจจุบัน กลายเป็นเมนูวัยเด็กแบบใหม่

Family Reunited เมนูเด็ดประจำบ้าน

การรับประทานอาหารกับครอบครัว ถือเป็นอีกหนึ่งวิธีรื้อฟื้นความทรงจำอันอบอุ่นกลับมา หลังจากผ่านพ้นช่วงโควิด-19 ไปแล้ว แน่นอนว่าทุกบ้านก็มักจะมีเมนูเด็ดประจำบ้านที่ไม่ซ้ำใคร การนำเมนูเด็ดที่คุ้นเคยเหล่านั้น มาเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการมากขึ้น ด้วยการปรับวัตถุดิบบางอย่าง ก็ช่วยสร้างรสชาติความทรงจำที่เต็มไปด้วยประโยชน์ที่มากขึ้นได้

3. Power of Contrast จับคู่สิ่งตรงข้ามกัน สู่อาหารกลมกล่อม

Power of Contrast เป็นการจับคู่สิ่งตรงข้าม ที่ดูเหมือนจะเข้ากันไม่ได้ ให้กลายเป็นการบาลานซ์ เติมเต็มกันและกันให้กลายเป็นรสชาติอร่อยกลมกล่อม เพื่อสร้างเมนูอาหารที่น่าสนใจมากกว่าเดิม ซึ่งแบ่งออกได้ 2 เทรนด์ ดังนี้

Flavor Pairings การจับคู่รสชาติกับวัตถุดิบ

เพราะการรับรสชาติเป็นส่วนสำคัญต่อความรู้สึกอร่อยของอาหารที่อยู่ในปาก ประกอบกับกลิ่นและเนื้อสัมผัส ซึ่งคนไทยส่วนใหญ่นั้นคุ้นชินกับการทานอาหารรสชาติหลากหลายในมื้อเดียว เช่น ถ้ามีจานอาหารรสเปรี้ยว อีกจานก็จะเป็นรสหวาน เพื่อหักล้างกันไป ซึ่งในปัจจุบันก็มีการปรับเปลี่ยนรสชาติอาหารให้ใน 1 เมนู มีรสชาติที่หลากหลายเพื่อเพิ่มความอร่อยด้วยเช่นกัน

Eye Appeal is Buy Appeal เพิ่มความน่าทานด้วยหน้าตาและองค์ประกอบอาหาร

สายตาเป็นหนึ่งในสัมผัสปรุงแต่งภาวะด้านอารมณ์ได้ดี หากมีหน้าตาอาหาร สีสัน และการจัดองค์ประกอบที่ดูสวยน่าทาน ก็จะช่วยกระตุ้นความอยากอาหารของผู้คนได้มากขึ้น ซึ่งเห็นได้จากเทรนด์ในโซเชียลมีเดีย ที่ผู้คนมักจะถ่ายรูปอาหารเพื่อแชร์ความน่าทานลงในช่องทางโซเชียลของตัวเองจนแทบจะกลายเป็นกิจวัตรของใครหลายคนไปเลยทีเดียว

แชร์ 7 วิธีกินดีอย่างยั่งยืน

แชร์วิธีกินดีอย่างยั่งยืน ลดหวานเค็ม สุขภาพดี
  1. ชิมอาหารก่อนปรุงเพิ่ม เพื่อลดโอกาสที่จะเติมรสหวานหรือเค็มมากเกินไป
  2. เปลี่ยนเมนูทอดเป็นเมนูย่าง หรือเปลี่ยนมาใช้รสเปรี้ยวจากธรรมชาติอย่างมะนาว หรือผลไม้ แทนสารปรุงรส
  3. เลือกใช้วัตถุดิบที่มีประโยชน์ หาง่าย ราคาย่อมเยา เช่น พืช ผักต่างๆ
  4. ทานอาหารที่มีประโยชน์ ถึงจะไม่ใช่มื้อใหญ่แต่ก็ทำให้อิ่มท้องได้ เช่น กล้วย ไข่ต้ม ไข่ลวก
  5. ชวนสมาชิกครอบครัวทำเมนูเด็ดประจำบ้านด้วยกัน โดยเลือกวัตถุดิบที่ดี เพิ่มผักให้หลากหลายมากขึ้น เลือกเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน ปรุงน้ำซุปและน้ำจิ้มด้วยตนเอง เพื่อคุมปริมาณน้ำตาลและโซเดียม
  6. จับคู่วัตถุดิบที่มีรสชาติส่งเสริมกัน เพื่อลดการปรุงรส เช่น เนื้อปลาจับคู่กับเลมอน ทูน่าจับคู่กับอะโวคาโด
  7. จัดจานให้มีสีและเนื้อสัมผัสที่สวยงามน่าทาน จะทำให้อาหารสุขภาพดูน่าอร่อยมากขึ้น

ยูนิลีเวอร์สนับสนุนให้ผู้คนบริโภคอาหารให้ถูกหลักโภชนาการ

คนอร์จัดแคมเปญกินดีได้ดี หรือ Eat Good Get Good

เพราะคนอร์เชื่อว่าทิศทางของอุตสาหกรรมอาหารจะมุ่งเน้นไปที่ความยั่งยืน ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ กล่าวคือ การทำเกษตรกรรมและการจัดหาวัตถุดิบจะโปร่งใสและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ขณะที่กระบวนการผลิตจะคำนึงถึงการลดผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติยิ่งกว่าที่เคย รวมถึงหัวใจสำคัญอย่างผู้บริโภค ที่มองหาแบรนด์ที่มีความรับผิดชอบต่อโลกอย่างรอบด้าน ยังจะให้ความสำคัญกับการบริโภคอาหารที่ดีและมีประโยชน์ยิ่งขึ้นเพื่อการมีสุขภาพดีในระยะยาวและป้องกันโอกาสเกิดโรคร้ายต่าง ๆ อีกด้วย

ดังนั้นคนอร์จึงส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้คนบริโภคอาหารตามหลักโภชนาการ ด้วยแคมเปญกินดีได้ดี หรือ Eat Good Get Good เพราะคนอร์ตระหนักถึงผลกระทบทั้งด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมจากการกิน เราจึงอยากช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนค่อยๆ เริ่มเปลี่ยนแปลงการบริโภคง่ายๆ 3 ประการ คือ รับประทานเนื้อสัตว์ให้น้อยลง รับประทานผักให้มากขึ้น และรับประทานธัญพืช ถั่ว และเมล็ดพืชให้หลากหลาย

ยูนิลีเวอร์และคนอร์ให้ความสำคัญกับผู้บริโภคเป็นอันดับแรก (Consumers First) เราเชื่อว่าพฤติกรรมการกินเพื่อสุขภาพดีอย่างยั่งยืนต้องเป็นวิธีที่ผู้บริโภคสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงในระยะยาว เรามุ่งมั่นสนับสนุนให้คนไทยหันมาบริโภคอาหารให้ครบมื้อและครบคุณค่าทางสารอาหารด้วยผลิตภัณฑ์หลากหลายชนิดจากคนอร์ ตลอดจนนำเสนอผลิตภัณฑ์ที่มีโภชนาการเหมาะสมสำหรับผู้บริโภคในแต่ละประเทศ เพื่อเป็นทางเลือกให้ผู้บริโภคที่รักสุขภาพตัดสินใจเลือกซื้อได้ง่ายยิ่งขึ้น สอดคล้องกับพันธกิจของยูนิลีเวอร์ในการส่งเสริมสุขภาพ ความมั่นใจ และความเป็นอยู่ที่ดีของผู้คนด้วยการสนับสนุนโภชนาการเชิงบวก และส่งเสริมให้ผู้บริโภคเข้าถึงอาหารและโภชนาการที่ดีต่อสุขภาพอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมกัน โดยในประเทศไทย เพื่อตอบโจทย์ผู้บริโภคในยุคปัจจุบันที่มีวิถีชีวิตที่มีความเร่งรีบมากยิ่งขึ้น เราจึงได้พัฒนาสูตรอาหารร่วมกับเชฟ ซึ่งมีเมนูความอร่อยและมีประโยชน์หลากหลายมากกว่า 100 เมนู ที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค สามารถทำตามได้ง่ายๆ เพราะนอกจากอร่อยแล้วยังดีต่อสุขภาพ และมีเมนูหลากหลายส่งเสริมให้ผู้บริโภคชาวไทยสามารถกินดี ได้ดี ด้วยวิถีอย่างยั่งยืน เผยแพร่ผ่านไลน์ของคนอร์ที่มีผู้ติดตามมากกว่า 21 ล้านคน และผ่านเว็บไซต์ของคนอร์ซึ่งมีผู้เข้ามาดูสูตรอาหารของเรามากกว่า 1 ล้านครั้งต่อปี

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นปรับพฤติกรรมการกินให้สุขภาพดี สามารถพบกับสารพัดเมนูสูตรอร่อยอีกมากมายได้ในเว็บไซต์ https://www.knorr.com/th/recipe-ideas.html หรือแอด LINE OA เพิ่มเพื่อน คลิก https://lin.ee/rKyFj02R ได้เลย

กลับไปด้านบน