ข้ามไปที่ เนื้อหา

กำหนดยุคใหม่ของการเป็นผู้นำด้านความยั่งยืน

ที่ตีพิมพ์:

Hein Schumacher ซีอีโอของ Unilever แบ่งปันมุมมองของเขาเกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนในอนาคต

ภาพของ Hein Schumacher

ทศวรรษที่ผ่านมามีเหตุการณ์พิเศษเกิดขึ้น เช่น โรคระบาดครั้งใหญ่ ภาวะเงินเฟ้อฉับพลันที่เกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวในชั่วอายุคน สงคราม และการแบ่งแยกทางภูมิรัฐศาสตร์ ซึ่งยังคงส่งผลกระทบต่อครัวเรือน เศรษฐกิจ และระบบการเมือง

ในขณะเดียวกัน ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมและสังคมที่เป็นอันตรายต่อโลกและสังคมของเรามีแต่จะทวีความรุนแรงและเร่งด่วนมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะฉุกเฉินด้านสภาพอากาศหรือความไม่เท่าเทียมกันในสังคม ไม่จำเป็นต้องอธิบายเพราะเราเองก็เห็นกันอยู่ตำตา

ที่ Unilever เราเชื่อมั่นอย่างแรงกล้าว่าธุรกิจมีเหตุผลนา ๆ ประการที่จะต้องรับมือกับความท้าทายเหล่านี้ และได้ดำเนินการมาหลายปีแล้ว ตั้งแต่แผนการชีวิตที่ยั่งยืนของ Unilever ไปจนถึงกลยุทธ์ Compass และล่าสุดจากแผนปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ เราได้กำหนดความยั่งยืนให้เป็นหัวใจสำคัญของกลยุทธ์ทางธุรกิจของเรา

เราประสบความสำเร็จในหลาย ๆ เรื่อง และได้รับประโยชน์มากมายจากการลงมือทำ เราได้สร้างห่วงโซ่อุปทานที่มีความยืดหยุ่น ประหยัดค่าใช้จ่ายอย่างมหาศาลในการดำเนินงาน และดึงดูดผู้มีความสามารถมาร่วมงาน

เมื่อเรามองไปสู่อนาคต เราเชื่อว่าเรามีโอกาสที่จะเป็นผู้กำหนดยุคที่สาม ยุคใหม่ของการเป็นผู้นำทางธุรกิจที่ยั่งยืน

ยุคแรก – กว่าทศวรรษที่ผ่านมา – ยุคแรกเน้นในเรื่องการส่งสัญญาณเตือนและกำหนดเป้าหมายในระยะยาว ยุคที่สองเป็นการผนวกและบูรณาการความยั่งยืนเข้าสู่ทั่วทั้งธุรกิจและห่วงโซ่คุณค่า

แล้วยุคที่สามล่ะ? สำหรับเราแล้ว มันคือการเร่งเพื่อทำให้สำเร็จตามเป้าหมายโดยสร้างผลกระทบให้มากขึ้น ด้วยการทำให้ความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนเป็นส่วนสำคัญต่อผลประกอบการ นี่คือสิ่งที่โลกต้องการ และเป็นสิ่งที่ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องคาดหวัง ตั้งแต่นักลงทุนไปจนถึงผู้บริโภค ซึ่งเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ Unilever ตั้งใจที่จะเป็นผู้นำ

ด้วยเหตุนี้ เราจึงใช้เวลาหลายเดือนในการพิจารณาถึงแนวทางที่เราจะพัฒนา จนได้ข้อสรุปว่าเราจะเปลี่ยนแปลงเรื่องสำคัญสามอย่าง

  • เน้นในการจัดสรรทรัพยากรตามลำดับความสำคัญด้านความยั่งยืนที่เป็นเรื่องใหญ่ที่สุด
  • ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการผลักดันให้เกิดการลงมือปฏิบัติตามความมุ่งมั่นในระยะยาว
  • มีการสนับสนุนอย่างเป็นระบบมากขึ้นเพื่อจัดการกับปัจจัยที่เอื้ออำนวยและที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้าซึ่งอยู่นอกเหนือการควบคุมโดยตรงของเรา

เหล่านี้เป็นหลักการสำคัญซึ่งจะเป็นแนวทางดำเนินงานของเราในปีต่อ ๆ ไป

มุ่งเน้นให้ตรงจุด

ความจริงก็คือประเด็นด้านความยั่งยืนของ Unilever ครอบคลุมประเด็นต่าง ๆ มากมาย

แต่เราได้เรียนรู้จากประสบการณ์ว่าเราต้องมุ่งเน้นให้ตรงจุดขึ้นในด้านการจัดสรรทรัพยากรเพื่อสร้างความก้าวหน้าอย่างเป็นรูปธรรมสำหรับความท้าทายครั้งใหญ่ที่ซับซ้อนซึ่งเรากำลังเผชิญอยู่

ผมจะขออธิบายด้วยตัวอย่าง ในปี 2020 เราได้ตั้งเป้าที่จะไม่มีการตัดไม้ทำลายป่าในห่วงโซ่อุปทานในส่วนของน้ำมันปาล์ม กระดาษและกระดาษแข็ง ชา ถั่วเหลือง และโกโก้ ตรงนี้ เราได้จัดสรรทรัพยากรมากมายในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเพื่อรับมือกับความท้าทายในหลายมิติ: เพื่อสนับสนุนเกษตรกรรายย่อย ปรับปรุงแนวทางการเพาะปลูก วางมาตรการตรวจสอบย้อนกลับและความโปร่งใสในห่วงโซ่อุปทาน สร้างโรงงานแปรรูปของเราเอง สร้างสรรค์วัสดุทางเลือกด้วยวิทยาศาสตร์ล้ำสมัย และเพื่อปรับโครงสร้างสายผลิตภัณฑ์หลายพันหมวดหมู่เพื่อลดหรือไม่ต้องพึ่งพาสินค้าโภคภัณฑ์ที่สร้างความเสี่ยงต่อป่าไม้

แนวทางที่มุ่งเน้นอย่างตรงจุดนี้มีส่วนสำคัญในการช่วยให้เราบรรลุเป้าหมายของปริมาณการสั่งซื้อที่ปราศจากการตัดไม้ทำลายป่าถึง 97.5% ภายในสิ้นปี 2023 ซึ่งเป็นแนวทางที่เราตั้งใจจะทำให้เกิดขึ้นอีก

ดังนั้นเมื่อเรามองไปสู่อนาคต เราจะใช้ความพยายามโดยเน้นที่ประเด็นด้านความยั่งยืนสี่หัวข้อ ซึ่งเราเพิ่งได้ปรับปรุงความมุ่งมั่นต่อสาธารณะ และได้ผนวกไว้ในแผนปฏิบัติการเพื่อการเติบโตอย่างครบถ้วน ซึ่งได้แก่ สภาพอากาศ ธรรมชาติ พลาสติก และการดำรงชีวิต

ความมุ่งมั่นที่เราได้ปรับปรุงใหม่นั้นได้ถูกขยายให้ครอบคลุมในหลายเรื่อง แต่ก็เป็นสิ่งที่เราตั้งใจและเป็นความจริงที่ไม่น่าละอาย เราตั้งใจอย่างแน่วแน่ว่า Unilever จะจัดการกับสิ่งเหล่านั้น เช่นเดียวกับที่เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามเป้าหมายทางการเงินของเรา เราต้องการกำหนดความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนที่น่าเชื่อถือ ซึ่งเราเชื่อว่าเราสามารถทำให้สำเร็จได้ และมีผลกระทบเชิงบวกอย่างแท้จริง

ซึ่งยังคงดำเนินไปโดยไม่ต้องพูดว่าเรายังคงมุ่งมั่นอย่างเต็มที่ต่อหลักการพื้นฐานของการดำเนินงานในฐานะธุรกิจที่มีความรับผิดชอบ: การเคารพสิทธิมนุษยชน ส่งเสริมความเสมอภาค ความหลากหลายและการไม่แบ่งแยก การดำเนินธุรกิจด้วยความซื่อสัตย์ และให้ความมั่นใจกับผู้คนในเรื่องความปลอดภัย ทุกสิ่งที่ว่ามานี้ฝังลึกอยู่ในธุรกิจของเรา และเราจะรายงานประเด็นเหล่านี้ในปีต่อ ๆ ไป

การดำเนินการเร่งด่วนอื่น ๆ

เราเข้าใจว่าทำไมบางครั้งธุรกิจจึงถูกตัดสินโดยพิจารณาจากความมุ่งมั่นด้านความยั่งยืนในระยะยาว มันเป็นจุดหมายปลายทางที่สำคัญ ซึ่งเป็นแนวทางของกลยุทธ์และกระตุ้นให้เกิดความร่วมมือในความท้าทายที่ซับซ้อนและหลากหลายแง่มุม

แต่ถึงแม้จะมีความมุ่งมั่นระยะยาวที่เข้มงวดและอ้างอิงพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ เรายังต้องทำให้สำเร็จตั้งแต่ตอนนี้ นั่นจึงเป็นเหตุผลที่เราย่อวิธีการของเราให้สั้นลง เพื่อให้มั่นใจว่าเรามีความชัดเจนเกี่ยวกับขั้นตอนเร่งด่วนที่เราต้องทำ และเชื่อมโยงขั้นตอนเหล่านั้นเข้ากับวงจรเชิงกลยุทธ์ที่บริษัทส่วนใหญ่วางแผนไว้ นี่คือจุดที่มีการจัดสรรเงินทุน ตกลงการแลกเปลี่ยน และพนักงานต้องรับผิดชอบ ด้วยวิธีนี้ ความยั่งยืนจะเกิดขึ้นได้ด้วยศักยภาพทั้งหมดของบริษัท และสร้างความรู้สึกเร่งด่วนในการจัดการส่วนที่เหลือของธุรกิจโดยทั่วไป

เป้าหมายต่อสาธารณะที่เราได้ปรับปรุง ซึ่งยอมรับแนวทางของความมุ่งมั่นในระยะยาวที่เสริมด้วยหมุดหมายในระยะสั้นและระยะกลาง เราได้สร้างแผนงานที่มีกำหนดเวลาอย่างละเอียด โดยรวมเอาความต้องการด้านการลงทุนเข้ากับวงจรการวางแผนธุรกิจ เรามีการตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอที่ด้านบนสุดขององค์กรเพื่อติดตามความก้าวหน้าและดำเนินการอย่างรวดเร็วเมื่อจำเป็น

นอกจากนี้ เรายังทำให้ระดับความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามแผนงานด้านความยั่งยืนมีความสอดคล้องกับผลลัพธ์ทางธุรกิจอื่น ๆ ตั้งแต่ KPI ทั่วทั้ง Unilever ที่ใช้ในแผนโบนัสของบริษัท ไปจนถึง KPI ของแต่ละคนสำหรับผู้ที่จัดการขั้นตอนการทำงาน เราจะเชื่อมโยงการให้รางวัลและการส่งมอบผลการปฏิบัติงานด้านความยั่งยืนต่อไป โดยเป็นส่วนหนึ่งของแผนปฏิบัติการเพื่อการเติบโตที่กว้างขึ้น เพื่อหมุนวงล้อแห่งวัฒนธรรมการปฏิบัติงานที่ Unilever

มีความเป็นระบบมากขึ้น

Unilever ให้การสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงภายนอกมาเป็นเวลานานเพื่อเร่งให้เกิดผลลัพธ์ที่ยั่งยืน และเรามีส่วนร่วมในที่ประชุม แนวร่วม และแคมเปญต่าง ๆ มากมายที่เรามักจะมีบทบาทเป็นผู้นำ

เนื่องจากโอกาสในการผลักดันความก้าวหน้าด้านความยั่งยืนภายใต้การควบคุมโดยตรงของเราเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก เรากำลังเสริมจุดมุ่งเน้นของเราสำหรับทศวรรษที่กำลังจะมาถึงในโอกาสที่ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนแปลงของห่วงโซ่คุณค่าระดับโลก นวัตกรรมทางเทคโนโลยี และนโยบายสาธารณะ เพื่อให้เป็นไปได้ในราคาไม่แพง

ซึ่งหมายความว่า Unilever จะแสดงความคิดเห็นและรวบรวมพลังอย่างจริงจังมากขึ้นเพื่อจัดการกับปัจจัยที่ส่งเสริมและที่เป็นอุปสรรคต่อความก้าวหน้า

ส่วนหนึ่งเป็นเรื่องของรูปแบบความร่วมมือกับพันธมิตรที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้น เช่น ผ่านโครงการสภาพอากาศของซัพพลายเออร์ ซึ่งได้รับการออกแบบมาเพื่อสร้างขีดความสามารถร่วมกับซัพพลายเออร์รายใหญ่ที่สุดของเรา 300 ราย ซึ่งรับผิดชอบประเด็นก๊าซเรือนกระจกในขอบเขตที่ 3 เป็นส่วนใหญ่

อีกส่วนหนึ่งคือผ่านการสนับสนุนนโยบายอย่างแน่วแน่ เพื่อช่วยสร้างสภาวะที่เหมาะสมในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในห่วงโซ่คุณค่าของเรา ตัวอย่างที่ดีคือการที่เราเป็นผู้นำในการเรียกร้องให้มีการร่างสนธิสัญญาว่าด้วยเรื่องพลาสติกระดับโลก ซึ่งกำหนดกฎเกณฑ์ เป้าหมาย และมาตรฐานเกี่ยวกับการออกแบบบรรจุภัณฑ์ใหม่ โมเดลการใช้ซ้ำ/เติม การขยายความรับผิดชอบของผู้ผลิต (EPR) การแปรรูปของเสีย และการกำจัดพลาสติกที่หลีกเลี่ยงได้

เราตั้งใจที่จะมีส่วนร่วมอย่างโปร่งใสมากขึ้นโดยตลอด การเผยแพร่บทวิจารณ์เรื่องการมีส่วนร่วมกับนโยบายด้านสภาพอากาศครั้งแรก (PDF 1.39 MB) ของเราซึ่งกำหนดลำดับความสำคัญของนโยบายด้านสภาพอากาศ และตรวจสอบวิจารณ์จุดยืนและกิจกรรมการมีส่วนร่วมของสมาคมอุตสาหกรรมหลักของเราถือเป็นข้อพิสูจน์ถึงความพยายามนี้

โดยสรุปแล้ว ที่ Unilever เราต้องการทำสิ่งต่าง ๆ ให้น้อยลงแต่ส่งผลกระทบมากขึ้น ประเด็นด้านความยั่งยืนที่เราได้ปรับปรุงใหม่ ซึ่งมีการมุ่งเน้น ความเร่งด่วน และการเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นระบบ เป็นสิ่งที่ไม่มีข้อยกเว้น เรามุ่งมั่นที่จะดำเนินการตามแผน และมีความกระตือรือร้นที่จะสร้างความแตกต่างให้เกิดขึ้นกับธุรกิจของเรา และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องจำนวนมาก

ภาพต้นปาล์มมุมเงย
กลับไปด้านบน