ยูนิลีเวอร์เชื่อมั่นความยั่งยืน 3 ประการ คือ "เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม และสังคม" ซึ่งมีหัวใจสำคัญคือความมุ่งมั่นแน่วแน่ในการเคารพเรื่องปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ในฐานะองค์กรที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม เรารู้ดีว่าการผลักดันเรื่องของสิทธิมนุษยชนไม่ใช่แค่หน้าที่ของคนใดคนหนึ่งเท่านั้น แต่ยังเป็นความรับผิดชอบร่วมกันของทั้งองค์กรในการป้องกัน ระบุ และแก้ไขผลกระทบเชิงลบ พร้อมทำงานอย่างเต็มที่เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกให้ผู้คนเข้าถึงสิทธิมนุษยชนที่ตัวเองควรได้รับ
หนึ่งในนั้นคือนโยบายความรับผิดชอบของคู่ค้าทางธุรกิจ (Responsible Partner Policy หรือ RPP) คือสิ่งที่เราให้ความสำคัญ โดยนโยบายนี้เป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดมาตรฐานของการจัดหาแรงงาน คู่ค้าและพันธมิตรทางธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เรียกได้ว่าเป็นข้อบังคับปฏิบัติสำหรับผู้ที่ต้องการร่วมงานกับยูนิลีเวอร์ ซึ่งข้อกำหนดเหล่านี้เสมือนเป็นรากฐานสำคัญที่หยั่งรากลึกในมาตรฐานสากล กฎระเบียบ และอนุสัญญาระหว่างประเทศที่สอดคล้องกับความคาดหวังของบริษัทชั้นนำอื่นๆ
ความสำคัญของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย
จากการที่เหล่าวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) มีบทบาทและเป็นเส้นเลือดสำคัญของเศรษฐกิจไทย เนื่องจากมีการจ้างพนักงานจำนวนมากและเป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจ จากข้อมูลของกระทรวงอุตสาหกรรม พบว่าธุรกิจกว่า 99% ในประเทศไทยเป็นธุรกิจรูปแบบ SMEs และจำนวนมากกว่า 80% มีการจัดจ้างกลุ่มแรงงานในท้องถิ่นและแรงงานข้ามชาติ ซึ่งหมายความว่า ธุรกิจรูปแบบ SMEs เพียงอย่างเดียวมีกำลังในการจ้างแรงงานข้ามชาติประมาณหนึ่งล้านคน ถือเป็นการตอกย้ำบทบาทที่สำคัญในด้านการสนับสนุนและผลักดันการเติบโตในการจัดจ้างแรงงาน ในทางตรงกันข้าม ธุรกิจขนาดใหญ่จ้างแรงงานข้ามชาติประมาณ 2-3 แสนคนเท่านั้น จึงทำให้เรามักพบแรงงานข้ามชาติเหล่านี้ได้ในอุตสาหกรรมต่างๆ ของธุรกิจแบบ SMEs เป็นส่วนใหญ่ เช่น การประมง เกษตรกรรม การบริการ การผลิต และการก่อสร้าง
ยูนิลีเวอร์ มีความมุ่งมั่นในการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม
ในปัจจุบันความท้าทายในกระบวนการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น แต่ยังครอบคลุมทั่วทั้งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และในภูมิภาคอื่นๆ ซึ่งยูนิลีเวอร์ มีการดำเนินการตามขั้นตอนสำคัญเพื่อจัดการกับความท้าทายเหล่านี้ผ่านโปรแกรมการมีส่วนร่วมของพันธมิตรมากมาย เพื่อลดความเสี่ยงของการแสวงหาผลประโยชน์จากแรงงานข้ามชาติภายในห่วงโซ่อุปทานของเรา เราได้ร่วมมือกับ กลุ่มพันธมิตรเพื่อการผลิตเชิงอุตสาหกรรมที่ยั่งยืนในภูมิภาคลุ่มน้ำโขง (Mekong Sustainable Manufacturing Alliance) เพื่อดำเนินโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถร่วมกับพันธมิตรคู่ค้าของเรา ในการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม
การอุทิศตนในการดูแลแรงงานข้ามชาติตามหลักสิทธิมนุษยชน
ยูนิลีเวอร์ เข้าใจถึงบทบาทที่สำคัญของแรงงานข้ามชาติในประเทศไทย เราจึงได้จัดการประชุมโต๊ะกลมครั้งสำคัญโดยร่วมมือกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน (International Organization for Migration หรือ IOM) เพื่อเน้นย้ำถึงความมุ่งมั่นของเราในการรณรงค์เพื่อลดการจัดหาแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม และส่งเสริมสิทธิมนุษยชนและความเป็นอยู่ที่ดีของบุคคลที่เปลี่ยนผ่านสู่การย้ายถิ่นฐาน ทั้งยังพร้อมสนับสนุนคู่ค้าของเราในการใช้นโยบายและระบบการจัดการที่ป้องกันปัญหาการจัดหาแรงงานอย่างไม่เป็นธรรม และส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนภายใต้ห่วงโซ่อุปทานของเรา
3 ส่วนสำคัญ เพื่อการดูแลแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม
ทำความเข้าใจกรอบการกำกับดูแลการจัดหางานอย่างมีจริยธรรม
ในขั้นตอนนี้เน้นที่การให้ความรู้แก่คู่ค้าของเราเกี่ยวกับกรอบการกำกับดูแลและปรับปรุงการปฏิบัติตามหลักการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม โดยคณะผู้อภิปรายประกอบด้วยตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ รวมถึงรัฐบาล องค์กรนายจ้าง และองค์กรภาคประชาสังคม
การเสริมศักยภาพในการจัดหาแรงงานที่มีจริยธรรมของคู่ค้า
ยูนิลีเวอร์มีบทบาทอย่างมากในการเสริมสร้างขีดความสามารถของคู่ค้าในประเทศไทย และในฐานะผู้จัดงานประชุมโต๊ะกลม เราได้ริเริ่มโครงการเสริมสร้างขีดความสามารถที่ครอบคลุมเป้าหมายของเรา ซึ่งก็คือการจัดเตรียมคู่ค้า ให้มีความรู้และเครื่องมือที่จำเป็นในการปรับแนวปฏิบัติการตรวจสอบสถานะให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล
ทั้งยังมีการเปิดตัวชุดเครื่องมือตรวจสอบสถานะการจัดหาแรงงานที่ยุติธรรมและมีจริยธรรมของ IOM ซึ่งรวมถึงแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น รายการตรวจสอบการประเมินตนเองและแผนปฏิบัติการแก้ไข
ในการประชุมนี้ ตัวแทนคู่ค้าจำนวนมากได้แสดงความสนใจเป็นอย่างมาก ในการมีส่วนร่วมอย่างต่อเนื่องในการประชุม รวมถึงการมีส่วนร่วมในกิจกรรมติดตามผลและการฝึกสอนรายบุคคลโดย IOM สะท้อนให้เห็นถึงปณิธานในการปรับปรุงเส้นทางการจัดหาแรงงานต่างชาติอย่างจริยธรรมของเรา เพื่ออนาคตการจัดหาแรงงานที่เป็นไปตามมาตรฐานสากล
การส่งเสริมและจัดการกับความท้าทายในการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม
การนำระบบการจัดการการย้ายถิ่นของแรงงานที่ครอบคลุมถือเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่เราให้ความสำคัญ ซึ่งสอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่เกี่ยวข้องกับแรงงานข้ามชาติสำหรับนายจ้างตามหลัก IOM โดยผู้เข้าร่วมจะต้องรับทราบถึงความจำเป็นของนโยบายแบบองค์รวมที่มีทั้งหลักการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม การรักษาความมุ่งมั่นจากผู้บริหารระดับสูง และการสื่อสารที่โปร่งใสตลอดห่วงโซ่อุปทาน นอกจากนี้ยังมีการระบุความท้าทายที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบสถานะด้านสิทธิมนุษยชน รวมถึงความซับซ้อนของระบบการตรวจสอบ และกลไกการแก้ไขที่เกี่ยวข้องกับช่องทางการร้องทุกข์ เป็นต้น
การมีส่วนร่วมและลงมือทำเพื่อแรงงานข้ามชาติผ่านกลไกการสื่อสารและความคิดเห็นที่มีประสิทธิผล จะยิ่งช่วยปรับปรุงนโยบายองค์กรและระบบการจัดการขององค์กรอย่างต่อเนื่อง ซึ่งความมุ่งมั่นอันแน่วแน่ของยูนิลีเวอร์จะยิ่งช่วยส่งเสริมแนวปฏิบัติในการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมในหมู่คู่ค้าของเราต่อไป
ผู้เข้าร่วม 90% เข้าใจและพร้อมสนับสนุนการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม
ความมุ่งมั่นของยูนิลีเวอร์ในการสรรหาแรงงานอย่างมีจริยธรรม พร้อมผลลัพธ์จากการจัดงานประชุมโต๊ะกลมนี้ชัดเจนมาก และเราภูมิใจที่กว่า 90% ของผู้เข้าร่วมได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้าที่สำคัญในการเข้าใจเรื่องการจัดหาแรงงานข้ามชาติอย่างมีจริยธรรม ผลลัพธ์นี้ตอกย้ำการสร้างผลกระทบเชิงบวกจากการที่เรามุ่งมั่นในการส่งเสริมความเป็นธรรมและแนวปฏิบัติในการจ้างงานที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม
เรามุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานสูงสุดของการจัดหาแรงงานอย่างมีจริยธรรมในการดำเนินงาน เราจะตั้งใจทำงานอย่างใกล้ชิดกับซัพพลายเออร์ของเราต่อไป เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมและความร่วมมืออย่างต่อเนื่องในประเด็นที่สำคัญเหล่านี้
ขอเชิญชวนทุกคนมาร่วมความมุ่งมั่นเพื่อสิทธิมนุษยชน จริยธรรม และอนาคตที่สดใสสำหรับทุกคนด้วยกัน และร่วมกันสร้างความแตกต่างอย่างแท้จริง