ข้ามไปที่ เนื้อหา

ยูนิลีเวอร์มุ่งมั่นในการสร้างโอกาสความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางเพศ และการมีส่วนร่วมในสังคม

ที่ตีพิมพ์:

เข้าร่วมอภิปราย UN

เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2566 ณ สถานทูตออสเตรเลีย กรุงเทพฯ ยูนิลีเวอร์ได้รับเชิญร่วมงานเสวนาเรื่อง Women's Economic Empowerment โดย เอกอัครราชทูตออสเตรเลียประจำประเทศไทย นางสาวสเตฟานี คอปัส แคมป์เบลล์ เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของผู้หญิงและLGBTQI+ ในการพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ ทั้งนี้ ยูนิลีเวอร์ ซึ่งเป็นองค์กรที่ขับเคลื่อนและสนับสนุนความเสมอภาค ความเท่าเทียมทางเพศและการมีส่วนร่วมในสังคม รู้สึกเป็นเกียรติที่มีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องนี้

ด้วยความมุ่งมั่นของเราที่มีต่อความเท่าเทียมทางเพศ ยูนิลีเวอร์โดยคุณณัฏฐิณี เนตรอำไพ ที่ปรึกษาอาวุโสส่วนองค์กรสัมพันธ์ กลุ่มบริษัท ยูนิลีเวอร์ ประเทศไทย และคุณนันทนา ขา
วปลื้ม หัวหน้าฝ่ายกลยุทธ์และวางแผนลูกค้า กลุ่มผลิตภัณฑ์ทางโภชนาการประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และอินโดนีเซีย ร่วมเป็นส่วนหนึ่งของการอภิปรายภายใต้การนำของ ดร. แอนเจลา แมคโดนัลด์ เอกอัครราชทูตออสเตรเลีย ร่วมกับองค์กรต่างๆ อาทิเช่น กระทรวงการต่างประเทศและการค้าของออสเตรเลีย UN Women แม็คโคร มูลนิธิป่าสาละ และกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ

การอภิปรายนี้เน้นความสำคัญในการเสริมสร้างโอกาสให้แก่สตรีและกลุ่ม LGBTQI+ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภูมิภาคอินโดแปซิฟิก โดยมุ่งเน้นไปที่การยุติความรุนแรงต่อสตรี เด็กผู้หญิง, และ LGBTQI+ ส่งเสริมการสร้างโอกาสทางเศรษฐกิจ การส่งเสริมการจ้างงานซัพพลายเออร์ที่มีความหลากหลายทางเพศและการจัดทำระบบฐานข้อมูล สนับสนุนและเป็นกระบอกเสียงให้สตรีในเรื่องการตัดสินใจ ความเป็นผู้นำ และการสร้างสันติภาพ ด้วยภาคธุรกิจมีบทบาทที่สำคัญอย่างมากในการขับเคลื่อนเรื่องนี้ภายในองค์กรและเครือข่ายทางธุรกิจ

ยูนิลีเวอร์ได้แสดงจุดยืน แบ่งปันวิสัยทัศน์และแนวปฏิบัติที่มุ่งมั่นของเรา แสดงให้เห็นถึงความมุ่งมั่นอย่างไม่ลดละต่อความเท่าเทียม ความหลากหลาย และการมีส่วนร่วม (ED&I) รวมถึงบอกเล่าประสบการณ์ของของเราในการดำเนินงานเพื่อบรรลุความเสมอภาคทางเพศทั่วทั้งองค์กร อย่างไรก็ตาม ความมุ่งมั่นของเราไม่จำกัดเฉพาะเพียงความเท่าเทียมทางเพศในองค์กรเพียงอย่างเดียว ยูนิลีเวอร์ใช้ประโยชน์จากศักยภาพอันมหาศาลของแบรนด์และห่วงโซ่อุปทานของเราอย่างเต็มที่ ไม่ใช่แค่การปฏิบัติตามข้อผูกพันทางสังคมเท่านั้น แต่ต้องการจุดประกายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและมีผลกระทบเชิงลึกในการผลักดันการเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในสังคมของเรา โดยจากข้อมูลของ McKinsey Global Institute, 2015 การบรรลุเรื่องความเท่าเทียมทางเพศในกำลังแรงงานภายในปี พ.ศ. 2568 จะทำให้ GDP ของโลกขยายตัวมากถึง 28 พันล้านเหรียญสหรัฐ

กลับไปด้านบน