ข้ามไปที่ เนื้อหา

ปัญหามลพิษจากพลาสติกสามารถแก้ไขได้ แต่ต้องมีแผนการอย่างจริงจังเพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโลก

ที่ตีพิมพ์:

รัฐบาลและองค์กรต่างๆในหลายประเทศกำลังทำงานอย่างหนักเพื่อจัดการกับปัญหามลพิษจากพลาสติก แต่สถานการณ์กลับแย่ลงเรื่อยๆ และความพยายามยังไม่เป็นผล เราเชื่อว่าสนธิสัญญาของสหประชาชาติจะสามารถแก้ไขปัญหานี้ได้อย่างแท้จริง

Woman filling a plastic bottle from an in-store refill machine that dispenses Surf and OMO products.

พลาสติกเป็นวัสดุที่มีค่า เป็นส่วนประกอบสำคัญสำหรับการขนส่งและจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ และมีปริมาณคาร์บอนฟุตพริ้นท์ต่ำกว่าวัสดุอื่นๆ แต่ปัญหาคือพลาสติกจำนวนมากถูกทิ้งอยู่ในสิ่งแวดล้อม

ในความเป็นจริง มีการคาดการณ์ว่าวิกฤตมลพิษจากพลาสติกจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลระหว่างตอนนี้จนถึงปี 2583 โดยมีการสร้างพลาสติกบริสุทธิ์มากขึ้นเป็นสองเท่า และจะมีขยะพลาสติกไหลลงสู่มหาสมุทรอีกสี่เท่า

เราไม่สามารถปล่อยให้สิ่งนั้นเกิดขึ้นได้

แต่การห้ามใช้พลาสติกโดยสิ้นเชิงก็ไม่ใช่คำตอบเช่นกัน วิธีแก้ปัญหาคือการลดการใช้พลาสติกบริสุทธิ์ (สำคัญที่สุดคือผลิตใหม่ให้น้อยที่สุด) ในขณะที่นำพลาสติกทั้งหมดที่มีอยู่แล้วมาใช้ในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน (ให้เป็นทรัพยากรมากกว่าขยะ)

เรากำลังทำงานอย่างหนักในทั้งสองด้านนี้ เพราะเราตระหนักดีว่าพลาสติกที่เราผลิตเป็นความรับผิดชอบของเรา เราให้คำมั่นที่จะลดการใช้พลาสติกบริสุทธิ์ลงครึ่งหนึ่งภายในปี 2568 ส่วนหนึ่งโดยการตัดการใช้พลาสติกกว่า 100,000 ตันออกจากบรรจุภัณฑ์ของเรา และออกแบบบรรจุภัณฑ์ทั้งหมดของเราให้สามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ รีไซเคิลได้หรือย่อยสลายได้ ซึ่งเรามีความคืบหน้าไปด้วยดี

Dove’s new concentrated body wash products with reusable aluminium bottles and small, recyclable refill bottles.

เรายังได้ลงนามในข้อตกลงอุตสาหกรรมแบบสมัครใจ ซึ่งรวมถึง New Plastics Economy Global Commitment ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อกำจัดขยะพลาสติกและมลภาวะที่ต้นทาง และข้อตกลงพลาสติกต่างๆ ที่รัฐบาล องค์กรพัฒนาเอกชน และภาคธุรกิจต่างๆ มาทำงานร่วมกันเพื่อเร่งความคืบหน้าในการนำพลาสติกกลับมาใช้ซ้ำและนำกลับมาใช้ใหม่

ข้อตกลงเหล่านี้กำลังดำเนินไปได้อย่างดี ตามรายงานความก้าวหน้าของ Global Commitment 2564 แบรนด์และผู้ค้าปลีกที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันลดการใช้พลาสติกบริสุทธิ์ในบรรจุภัณฑ์เป็นปีที่สองติดต่อกัน และจะถูกเร่งขึ้นด้วยคำมั่นสัญญาใหม่ที่กำหนดให้การใช้พลาสติกบริสุทธิ์ลดลงเกือบ 20% ภายในปี 2568 เมื่อเทียบกับปี 2561

แต่ในขณะที่สิ่งต่างๆ กำลังเคลื่อนไหวไปในทิศทางที่ถูกต้องและมีประสิทธิผล การประกาศความมุ่งมั่นเพียงอย่างเดียวอาจยังไม่เพียงพอ: เราต้องไปให้ไกลขึ้นและเร็วขึ้นมาก

หากปราศจากการเปลี่ยนแปลงระดับประเทศในเรื่องการใช้ การรีไซเคิล และการลดการใช้พลาสติกในที่สุด เราจะไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้เลย เราต้องมีแผนปฏิบัติการระดับโลกที่จริงจังและแก้ไขปัญหาที่ต้นเหตุ และในบางกรณีนั่นหมายถึงการเปลี่ยนจากมาตรการสมัครใจไปเป็นมาตรการบังคับเชิงกฎหมาย

ด้วยเหตุนี้ เราจึงร่วมกับธุรกิจอื่นๆ อีกกว่า 70 แห่ง จึงเรียกร้องให้ UN มีสนธิสัญญาที่มีความทะเยอทะยานและมีผลผูกพันทางกฎหมาย โดยใช้แนวทางเศรษฐกิจหมุนเวียน เพื่อจัดการกับมลภาวะพลาสติกในระดับโลก เช่นเดียวกับข้อตกลงปารีสที่นำเราไปสู่เส้นทางเพื่อรับมือกับวิกฤตสภาพภูมิอากาศ

เราอยู่ในจุดวิกฤตในการจัดตั้งสนธิสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับพลาสติก ข้อตกลงที่ลดการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ ส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนทั่วโลก

Alan Jope, Unilever CEO
Alan Jope

เราทุกคนมีเป้าหมายและแนวทางร่วมกัน

ปัญหาขยะพลาสติกไม่ได้เริ่มต้นและสิ้นสุดที่อาณาเขตของแต่ละประเทศ ดังนั้นโลกจึงต้องการความร่วมมือระหว่างประเทศที่เหนียวแน่นและมีบูรณาการที่จะจัดการกับปัญหาที่ต้นทาง เศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติกจะช่วยจัดการกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการสูญเสียความหลากหลายทางชีวภาพ ในขณะเดียวกันก็สร้างผลกระทบเชิงบวกต่อสังคมและเศรษฐกิจ

เราเชื่อว่าสนธิสัญญาควรทำให้ทุกคน - รัฐบาล ภาคธุรกิจ และภาคประชาสังคม - มีความเข้าใจร่วมกันถึงสาเหตุและแนวทางร่วมกันในการแก้ไขปัญหาเหล่านี้ สำหรับบริษัทและนักลงทุน สิ่งนี้จะสร้างสนามแข่งขันที่เท่าเทียมกันและป้องกันไม่ให้เกิดความไม่ต่อเนื่องซึ่งเกิดจากการขาดความเชื่อมโยงของความตั้งใจและแนวทางแก้ปัญหา และยังสร้างเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับเศรษฐกิจหมุนเวียนสำหรับพลาสติกเพื่อตอบสนองต่อการใช้งานจริงในวงกว้าง

เรายังเชื่อว่าจะต้องมีผลผูกพันทางกฎหมายและรวมถึงเป้าหมายเชิงบังคับเพื่อจำกัดการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ – ในระดับรัฐบาลของแต่ละประเทศเพื่อขับเคลื่อนความรับผิดชอบ เพื่อให้แต่ละประเทศมีส่วนร่วมและจะต้องปฏิบัติตาม เพื่อปลดล็อกการลงทุนที่จำเป็นเพื่อยกระดับนวัตกรรม โครงสร้างพื้นฐาน และความรู้ในประเทศที่ต้องการการสนับสนุนมากที่สุด

และมีเหตุผลที่ดีที่จะมองโลกในแง่ดีว่าสนธิสัญญาดังกล่าวสามารถสร้างขึ้นและนำไปใช้ได้: สามในสี่ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติ - กว่า 150 ประเทศ - ได้สนับสนุนแนวคิดนี้แล้ว เช่นเดียวกับการเพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆของธุรกิจและกลุ่มนักลงทุน นอกจากนี้ ผู้คนยังเรียกร้องให้มีแอคชั่น เช่น คำร้องจาก WWF ให้มีสนธิสัญญานี้ มีคนร่วมลงชื่อกว่า 2 ล้านคน แต่เราต้องการการสนับสนุนจากองค์กรและผู้คนจำนวนมากกว่านี้ – เพื่อสร้างแรงกดดันต่อรัฐบาลทั่วโลกให้บรรลุพันธกรณีตามสนธิสัญญานี้

Cif ecorefill pouring into bottle. The refills use 75% less plastic and, by diluting at home, 97% less water is transported.

เรามีวิธีแก้ปัญหาที่จำเป็นอยู่แล้ว เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการรั่วไหลของพลาสติกลงสู่มหาสมุทรทุกปีโดยรวมให้ได้ประมาณ 80% ภายในปี 2583 ตามรายงานของ Breaking the Plastic Wave โดย The Pew Charitable Trusts ชี้ให้เห็นว่า การขาดแนวการแก้ปัญหาทางเทคนิคไม่ได้ขัดขวางเราจากการลุกขึ้นมาจัดการกับปัญหาขยะพลาสติก แต่การขาดกรอบกฎระเบียบ โมเดลธุรกิจ และการระดมทุนที่ไม่เพียงพอ ทำให้เราไปไม่ถึงทางออก

อลัน โจป ซีอีโอของยูนิลีเวอร์ กล่าวว่า "เราอยู่ในจุดวิกฤตในการจัดตั้งสนธิสัญญาสหประชาชาติเกี่ยวกับพลาสติก ข้อตกลงที่ลดการผลิตพลาสติกบริสุทธิ์ ส่งเสริมความร่วมมือในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ และเร่งการเปลี่ยนผ่านสู่เศรษฐกิจหมุนเวียนทั่วโลก" .

“ในการประชุมสมัชชาสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติที่กำลังจะมีขึ้น จะต้องมีการตกลงถึงกระบวนการในการบรรลุเป้าหมายที่มีผลผูกพันทางกฎหมายก่อนที่จะสายเกินไป ขนาดและความซับซ้อนของวิกฤตเป็นที่เข้าใจเป็นอย่างดี แรงผลักดันมีอยู่แล้ว และเรารู้ว่าต้องทำอะไร ขณะนี้ถึงเวลาแล้ว ที่เราต้องตัดสินใจเรื่องยากๆ เหล่านั้น เพื่อจัดการกับปัญหาขยะพลาสติกทันทีและตลอดไป”

กลับไปด้านบน