ขนาดของความท้าทาย
เมื่ออ้างอิงตามข้อมูลของ มูลนิธิเอลเลน แมคอาเธอร์ (Ellen MacArthur Foundation หรือ EMF) จะพบว่ามีบรรจุภัณฑ์พลาสติกเพียง 14% เท่านั้นที่ใช้ในตลาดทั่วโลกที่ถูกส่งไปยังโรงงานรีไซเคิล ขณะที่มีพลาสติกอีก 40% จะถูกฝังกลบและหนึ่งในสามจะอยู่ในระบบนิเวศที่เปราะบาง ภายในปี ค.ศ. 2050 ประมาณการว่าจะมีปริมาณพลาสติกมากกว่าปลาในมหาสมุทรบนโลกใบนี้
การปฏิบัติต่อบรรจุภัณฑ์พลาสติกเสมือนทรัพยากรที่มีมูลค่าที่จัดการได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลเป็นกุญแจสำคัญสู่การบรรลุ เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน 12 (การผลิตและการบริโภคอย่างยั่งยืน) และในการทำเช่นนั้นก็จะเป็นยกระดับจากโมเดลการบริโภคแบบ ‘Take-Make-Dispose’ ไปสู่โมเดลที่มีการหมุนเวียนอย่างเต็มรูปแบบ
การจัดการปัญหาที่ต้องเผชิญเป็นจำนวนมาก
เพื่อเป็นการแปลงการไหลของวัตถุดิบสำหรับบรรจุภัณฑ์พลาสติกในทั่วโลก เราจึงได้ให้คำมั่นเพื่อให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกของเราทุกชิ้นสามารถนำกลับมาแปรสภาพใช้ใหม่, สามารถใช้ซ้ำ หรือสามารถย่อยสลายได้อย่างสมบูรณ์ภายในปี ค.ศ. 2025
นอกจากนี้ เรายังต่ออายุสมาชิกของ EMF ไปอีกสามปีรวมถึงสนับสนุนและรองรับความคิดริเริ่มทางเศรษฐกิจของพลาสติกแนวใหม่ (New Plastics Economy) อีกด้วย และเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเรื่องนี้ เราจะเผยแพร่ ‘พาเลท’ ที่ทำจากวัสดุพลาสติกที่ใช้ในบรรจุภัณฑ์ของเราอย่างสมบูรณ์ภายในปี ค.ศ. 2020 เพื่อช่วยสร้างโปรโตคอลพลาสติกสำหรับอุตสาหกรรม
Unilever ได้ให้คำมั่นไว้แล้วว่าจะลดน้ำหนักของบรรจุภัณฑ์ที่เราใช้ลงหนึ่งในสามภายในปี ค.ศ. 2020 และเพิ่มการใช้พลาสติกรีไซเคิลใหม่ได้ในบรรจุภัณฑ์ของเราถึงระดับอย่างน้อย 25% ภายในปี ค.ศ. 2025
เพื่อเป็นส่วนหนึ่งของพันธสัญญาใหม่นี้ Unilever จะทำให้มั่นใจว่า มีความเป็นไปได้ทางเทคนิคที่บรรจุภัณฑ์พลาสติกของเราจะถูกนำกลับมาใช้ใหม่หรือแปรสภาพกลับมาใช้ใหม่ได้ภายในปี ค.ศ. 2025 และจะมีตัวอย่างที่สร้างขึ้นและเป็นหลักฐานที่เห็นชัดว่าเครื่องที่นำพลาสติกมาผ่านกระบวนใหม่เป็นสิ่งที่มีประโยชน์เชิงพาณิชย์ในการรีไซเคิลวัสดุ
เราจำเป็นต้องทำมากยิ่งขึ้นในฐานะอุตสาหกรรม
Paul Polman ประธานเจ้าหน้าที่บริหารของ Unilever กล่าวว่า “บรรจุภัณฑ์พลาสติกมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำให้ผลิตภัณฑ์ของเราเป็นที่น่าสนใจ มีความปลอดภัย และสร้างความพึงพอใจให้กับผู้บริโภคของเรา” “เห็นได้ชัดว่า หากเรายังคงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากวัสดุอเนกประสงค์นี้ เราจำเป็นต้องทำสิ่งต่าง ๆ ให้มากขึ้นในฐานะอุตสาหกรรมเพื่อช่วยทำให้แน่ใจว่า มีการจัดการวัสดุดังกล่าวด้วยความรับผิดชอบรวมถึงการใช้หลังการบริโภคที่มีประสิทธิภาพ
“สำหรับการจัดการกับความท้าทายเกี่ยวกับขยะพลาสติกในมหาสมุทรนั้น เราจำเป็นต้องทำงานด้วยแนวทางการแก้ไขปัญหาที่เป็นระบบ แนวทางดังกล่าวยังหมายถึงการหยุดพลาสติกไม่ให้เข้าไปสู่แหล่งน้ำก่อนเป็นอย่างแรก เราหวังว่าพันธสัญญาเหล่านี้จะส่งเสริมให้ผู้อื่นในอุตสาหกรรมนี้สร้างความคืบหน้าอย่างมีส่วนร่วมเพื่อทำให้แน่ใจว่าบรรจุภัณฑ์พลาสติกของเราทุกชิ้นสามารถนำกลับมาแปรสภาพใช้ใหม่และถูกนำไปรีไซเคิลได้อย่างเต็มที่
นอกจากนี้เราจำเป็นต้องทำงานร่วมกับรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาและขยายขนาดการรวบรวมและดำเนินการโครงสร้างพื้นฐานใหม่อีกครั้ง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งในการเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน เขายังกล่าวเสริมด้วยว่า "ท้ายที่สุด เราต้องการให้บรรจุภัณฑ์พลาสติกทุกชิ้นในอุตสาหกรรมถูกนำกลับไปหมุนเวียนได้อย่างเต็มที่”
Ellen MacArthur กล่าวว่า: "ด้วยความมุ่งมั่นสู่เป้าหมายของบรรจุภัณฑ์พลาสติกในระบบเศรษฐกิจหมุนเวียนที่ต้องใช้ความพยายามสูงนั้น Unilever ได้มีส่วนร่วมในการเปลี่ยนแปลงระบบที่สามารถจับต้องได้และส่งสัญญาณที่ชัดเจนไปยังอุตสาหกรรมสินค้าอุปโภคบริโภคที่เติบโตเร็วทั้งระบบ การผสมผสานมาตรการต้นน้ำระหว่างการออกแบบและวัสดุที่มีกลยุทธ์ผ่านการบริโภคแล้ว จะนำเสนอแนวทางทั่วทั้งระบบ ซึ่งจำเป็นต้องใช้ในการเปลี่ยนเศรษฐกิจพลาสติกแนวใหม่ (New Plastics Economy) สู่ความเป็นจริง"
William McDonough ซึ่งเป็นสถาปนิกและผู้นำระบบเศรษฐกิจหมุนเวียน กล่าวเสริมว่า: “การทำให้บรรจุภัณฑ์และพลาสติกมีความเหมาะสมที่สุดเป็นสิ่งที่ต้องทันต่อเวลาและมีความสำคัญต่อผู้คนทุกคน ชุมชนทุกแห่ง รวมถึงทุกบริษัทที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นซัพพลายเออร์ ผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก ลูกค้าและผู้บริโภค ต่างก็สามารถทำงานร่วมกันได้ โดยมีค่านิยมและจุดประสงค์ร่วมกันเพื่อสร้างและแบ่งปันคุณค่าที่มีประโยชน์สำหรับคนรุ่นต่อไป”